รถยนต์ต่างประเทศ

คมนาคมนวัตกรรมรถเพื่อการพาณิชย์

รออีกนิด !! 9 ก.ย. เปิดใช้แท็กซี่ไฟฟ้า วีไอพี

ไรเซน เอนเนอร์จี ส่งมอบยานยนต์ไฟฟ้า “บีวายดี อีซิกส์” (BYD e6) จำนวน 101 คัน ให้แก่บริษัท อีวี โซไซตี้ จำกัด ผู้บริหารกิจการแท็กซี่ในสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งสานความร่วมมือกับกรมการขนส่งทางบก ผลักดันการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในภาคขนส่งสาธารณะครั้งแรกของประเทศไทย ในโครงการ “อีวี แท็กซี่ วีไอพี” (EV Taxi VIP) เพื่อยกระดับคุณภาพรถและบริการของแท็กซี่ไทย โดยจะเริ่มประจำการที่สนามบินสุวรรณภูมิตั้งแต่วันที่  9 กันยายน 2561 เป็นต้นไป สามารถเรียกใช้บริการผ่านแอปพลิเคชั่น Taxi Ok ของกรมการขนส่งทางบก หรือผ่านคอลล์เซ็นเตอร์ นายสมศักดิ์ ห่มม่วง รองปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมยังได้เร่งผลักดันให้เกิดการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในระบบขนส่งสาธารณะ ทำให้การเปิดตัว EV Taxi VIP ภายใต้การยกระดับมาตรฐานแท็กซี่ไทยโครงการ Taxi VIP ของกรมการขนส่งทางบก จะเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการสร้างระบบการคมนาคมขนส่งที่มีคุณภาพในทุกด้าน  เนื่องจากรถที่นำมาใช้ให้บริการเป็น EV Taxi VIP เป็นรถที่ใช้พลังงานจากไฟฟ้า 100% ในการขับเคลื่อน เพิ่มจำนวน Taxi VIP ซึ่งเป็นการให้บริการรถหรูระดับพรีเมี่ยม ที่มีมาตรฐานครอบคลุมในทุกมิติตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด โดยมีสถานีอัดประจุไฟ Charging station ให้บริการทั้งหมด 30 แห่งทั่วกรุงเทพ เพียงพอกับความต้องการใช้งานของรถ EV Taxi VIP นอกจากนี้ รองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้จัดพื้นที่จอดรถบริเวณชั้น 1 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิให้กับรถ EV Taxi VIP ส่งเสริมความเป็น Smart Airport ให้กับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสร้างเป็นภาพลักษณ์ที่ดีต่อการท่องเที่ยวของประเทศ นายสนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า ในส่วนของความร่วมมือของภาคเอกชนครั้งนี้ บริษัท...
นวัตกรรมรถยนต์ต่างประเทศ

ปอร์เช่อวดโฉม ไทคานน์ รถสปอร์ตพลังงานไฟฟ้า

ยานยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้ารุ่นแรกของปอร์เช่มีกำหนดการเผยโฉมในช่วงต้นปีหน้า ในระหว่างการจัดเตรียมงานเปิดตัวสุดยิ่งใหญ่ ยนตรกรรมไฟฟ้าสมบูรณ์แบบคันนี้ได้รับการขนานนามอย่างเป็นทางการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว: ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา “มิชชั่น อี (Mission E)” ถูกใช้เป็นชื่อที่เรียกขานเมื่อกล่าวถึงยนตรกรรมพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบคันแรกของปอร์เช่ และนับจากนี้เป็นต้นไปจะถูกเรียกขานใหม่ในนาม “ไทคานน์  (Taycan)” ซึ่งมีความหมายในเบื้องต้นว่า “อาชาหนุ่มที่เปี่ยมไปด้วยความคึกคะนอง” สะท้อนให้เห็นภาพของม้าศึกที่เป็นตราสัญลักษณ์ของปอร์เช่ ซึ่งถือกำเนิดขึ้นมายาวนานนับตั้งแต่ปี 1952 “รถสปอร์ตพลังงานไฟฟ้ารุ่นใหม่ล่าสุดของเรามาพร้อมด้วยพละกำลังและอรรถประโยชน์ที่มากล้น; นี่คือยานพาหนะที่มีศักยภาพในการขับขี่ที่มีเส้นทางยาวไกลพร้อมเปิดโลกเสรีภาพใหม่ให้ทุกคน” คำกล่าวข้างต้น คือคำอธิบายของ Oliver Blume ประธานกรรมการบริหาร Porsche AG และนอกจากชื่อของรถสปอร์ตดังกล่าวที่เป็นตัวแทนของการเริ่มต้นยุคแห่งยานยนต์พลังงานไฟฟ้าซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญสู่อนาคตของปอร์เช่แล้ว ชื่อนี้ยังมีนัยสำคัญถึงการประกาศวาระแห่งการเฉลิมฉลองในฐานะส่วนหนึ่งของกิจกรรม “70 years of Sport cars” มอเตอร์ขับเคลื่อนประสิทธิภาพสูง 2 ตัวแบบ Permanently Excited Synchronous Motors (PSM) เมื่อทำงานร่วมกันสามารถผลิตกำลังสูงสุดได้มากกว่า 600 แรงม้า (440 กิโลวัตต์) ส่งผลให้รถสปอร์ตพลังงานไฟฟ้าคันนี้มีอัตราเร่งจากจุดหยุดนิ่งถึงความเร็ว 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงภายในระยะเวลาต่ำกว่า 3.5 วินาที และพุ่งทะยานสู่ความเร็วสูงสุดถึง 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมงภายใน 12 วินาที ด้วยสมรรถนะที่ยอดเยี่ยมนี้เกิดขึ้นโดยข้อได้เปรียบของการถ่ายทอดกำลังขับเคลื่อนที่ต่อเนื่องอันเป็นคุณสมบัติที่ยอดเยี่ยมของยานพาหนะพลังงานไฟฟ้า: การเร่งออกตัวที่ฉับไวอย่างเหลือเชื่อมีที่มาจากประสิทธิภาพการทำงานของส่วนประกอบซึ่งปราศจากการสูญเสียใดๆ ในระบบโดยสิ้นเชิง รถยนต์คันนี้สามารถเดินทางไกลมากกว่า 500 กิโลเมตรตามมาตรฐานของ NEDC ปอร์เช่ตัดสินใจครั้งสำคัญในการลงทุนด้วยเม็ดเงินก้อนใหญ่ที่สุดเป็นประวัติการณ์เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายในอนาคตตามแผนกลยุทธ์การพัฒนาภายในปี 2022 บริษัทผู้ผลิตรถสปอร์ตระดับแนวหน้าของโลกแห่งนี้จะใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้นมากกว่า 6,000 ล้านยูโรสำหรับการสร้างสรรค์ยนตรกรรมพลังงานไฟฟ้า งบประมาณที่เพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 3,000 ล้านยูโรนั้น ส่วนหนึ่งราว 500 ล้านยูโรจะถูกนำไปใช้สำหรับโครงการพัฒนาปอร์เช่ ไทคานน์ (Porsche Taycan) รวมถึงรุ่นอื่นๆ ภายใต้อนุกรมเดียวกัน และประมาณ 1,000 ล้านยูโรจะถูกใช้เป็นงบประมาณในการเสริมศักยภาพด้านระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าและระบบไฮบริดในรถยนต์รุ่นปัจจุบัน และอีกหลายร้อยล้านยูโรสำหรับค่าใช้จ่ายในการขยายโรงงานผลิต ส่วน 700 ล้านยูโรจะถูกใช้เพื่อการค้นคว้านวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในส่วนของระบบชาร์จ พลังงานรวมไปถึงระบบยานยนต์อัจฉริยะ...
นวัตกรรมรถใหม่ต่างประเทศ

นิสสันจับมืออิตัลดีไซน์  อวดโฉม จีที-อาร์ อัลตร้า-ลิมิเต็ด

จีที-อาร์ (GT- R) อัลตร้า-ลิมิเต็ด รถต้นแบบสร้างบนพื้นฐานของนิสสัน จีที-อาร์ นิสโม รุ่นปี 2018 รถรุ่นสุดเพื่อเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 50 ปีของทั้งจีที-อาร์ และ อิตัลดีไซน์ และพร้อมเผยโฉมเป็นครั้งแรกเดือนสิงหาคมนี้ที่ยุโรป "หลายๆ ครั้งที่มีคำถามว่าถ้าเราสร้าง GT-R โดยไม่มีข้อจำกัด และจะสร้างมันขึ้นมาจริงๆ มันจะออกมาเป็นยังไง" นาย อัลฟอนโซ อัลไบซา รองประธานอาวุโสฝ่ายออกแบบของนิสสัน  กล่าว "นี่ยังเป็นเวลาที่หาได้ยากมากๆ เมื่อช่วงเวลาที่สำคัญ ทั้งสองช่วงจะมาบรรจบกัน ไม่ว่าจะเป็น วาระ 50 ปี ของอิตัลดีไซน์ หนึ่งในผู้สรรค์สร้างโลกยานยนต์ และ วาระ 50 ปีของ จีที-อาร์ รถยนต์ที่เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของนิสสันที่สร้างความตื่นเต้นให้กับโลก ดังนั้นเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองวาระที่สำคัญทั้งสองนี้ นิสสัน และ อิตัลดีไซน์ จึงสร้างสรรค์ จีที-อาร์ รุ่นพิเศษ เพื่อฉลองการครบรอบ 50 ปีในการเป็นผู้นำด้านวิศวกรรมนี้" อิตัลดีไซน์ รับหน้าที่ในการพัฒนา งานวิศวกรรม และการสร้างสรรค์รถ ขณะที่การออกแบบภายนอกและภายในอันโดดเด่นได้รับการสร้างสรรค์จากทีมงานที่ หน่วยงานออกแบบของนิสสันของยุโรป ในกรุงลอนดอน และ หน่วยงานออกแบบของนิสสันในสหรัฐอเมริกา การออกแบบเริ่มต้นที่บริเวณส่วนหน้า นิสสัน จีที-อาร์50 โดย อิตัลดีไซน์ มีส่วนประกอบที่ใช้สีทองตกแต่งซึ่งทอดยาวเกือบเต็มในส่วนความกว้างของตัวรถ ฝากระโปรงมีความโดดเด่นชัดเจนมากขึ้น พร้อมไฟหน้า LED รูปทรงเพรียงบาง ลากยาวจากแนวล้อหน้าไปจนถึงริมแผงหน้าที่เป็นช่องระบายความร้อน ขณะที่ด้านข้าง แนวเส้นหลังคา (roofline) ได้ปรับลดลง 54 มิลลิเมตรเสริมให้มีความโดดเด่นมากขึ้น พร้อมลดความสูงในส่วนตรงกลาง ขณะที่ส่วนนอกปรับยกขึ้นเพื่อให้ความแข็งแกร่งของหลังคา นอกจากนี้ช่องระบายความร้อนด้านหลังล้อ ทรง "ดาบซามูไร" อันเป็นสัญลักษณ์ จีที-อาร์ ถูกเสริมความโดดเด่นขึ้นด้วยการใช้แผ่นสีทอง และขยายจากด้านล่างของประตูไปที่เส้นข้างของตัวรถ (Shoulder line) ส่วนด้านหลังของตัวรถ ถูกไฮไลต์ด้วยการเสริมความกว้าง...
นวัตกรรมรถยนต์ต่างประเทศรถใหม่ต่างประเทศออโตโชว์

 นิสสันนำเทคโนโลยี B2Vและนิสสัน ลีฟร่วมงาน CES

สำหรับไฮไลท์ภายในงานของบูธนิสสัน ได้แก่ เทคโนโลยี B2V(Brain to Vehicle) ล่าสุด ที่เปรียบเสมือนผู้ช่วยในการขับขี่ โดยเทคโลยี B2V นี้สามารถอ่านสัญญาณจากคลื่นสมองและสามารถเรียนรู้จากผู้ขับ เพื่อช่วยสร้างปฏิกิริยาตอบสนองในการขับขี่ที่รวดเร็วขึ้น รวมถึงช่วยเพิ่มสุนทรียภาพของการขับขี่ นอกจากนี้ นิสสันยังยกทัพรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ได้แก่ รถยนต์ต้นแบบ IMx และรถยนต์นิสสัน ลีฟ (LEAF) รุ่นใหม่ มาจัดแสดงภายในงาน  รถยนต์ต้นแบบ IMx ซึ่งเปิดตัวในระดับภูมิภาคเป็นครั้งแรก เป็นรถยนต์ 4 ที่นั่งที่โดดเด่นในด้านการเชื่อมต่อระหว่างรถยนต์และผู้ขับขี่ มาพร้อมเทคโนโลยีขับขี่อัตโนมัติแบบเต็มรูปแบบ และระบบส่งกำลังไฟฟ้าที่ให้แรงบิดสูงกว่า รถยนต์สปอร์ต อย่าง นิสสัน จีที-อาร์ (GT-R) รถยนต์ นิสสัน ลีฟ รุ่น ใหม่ล่าสุดถือเป็นรถยนต์ที่มียอดขายดีที่สุดในโลก ผสมผสานความเป็นรถยนต์ไฟฟ้า 100% กับเทคโนโลยีขั้นสูง อันได้แก่ ระบบขับขี่อัตโนมัติ ProPILOT และการทำงานอันเรียบง่ายของระบบ e-Pedal รวมไปถึงมีการเชื่อมต่อที่ดีระหว่างผู้ใช้ รถยนต์ และ สังคมที่ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ รถยนต์นิสสัน ลีฟซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของแนวคิดนิสสัน อินเทลลิ้เจนท์ โมบิลิตี้ได้เริ่มวางจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 ที่ผ่านมา...
นวัตกรรมรถยนต์ต่างประเทศรถใหม่ต่างประเทศ

นิสสัน โน๊ต e-POWER

นิสสัน มอเตอร์ ประกาศความสำเร็จที่ก้าวล้ำหน้าไปอีกขั้นบนพื้นฐานแนวคิด “การขับเคลื่อนอัจฉริยะ หรือ Nissan Intelligent Mobility” ด้วยการเปิดตัวเทคโนโลยีขุมพลังแบบใหม่ล่าสุดในชื่อ อี-เพาเวอร์ (e-POWER)ซึ่งใช้ในนิสสัน โน๊ต(NOTE )ใหม่ ขุมพลัง อี-เพาเวอร์ (e-POWER) เป็นการประยุกต์จากแนวคิดของเทคโนโลยีขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าที่มีอยู่ในนิสสัน ลีฟ (Nissan LEAF) ที่ประสบความสำเร็จในด้านยอดขายและได้รับการยอมรับจากผู้ใช้งานมาแล้วทั่วโลก โดยในระบบใหม่นี้มีการติดตั้งเครื่องยนต์สันดาปภายในขนาดเล็กเพิ่มเติมเพื่อทำหน้าที่เป็นเครื่องปั่นไฟฟ้าพลังงานสูง เพื่อสร้างกระแสไฟฟ้าชาร์จเข้ามาเก็บในแบตเตอรี ลดการพึ่งพาพลังงานไฟฟ้าจากภายนอก แต่ยังให้พลังงานไฟฟ้าในขนาดใกล้เคียงกัน ขุมพลังมอเตอร์ไฟฟ้าอัจฉริยะ อี-เพาเวอร์ ประกอบด้วยเครื่องยนต์สันดาปภายในที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง, เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator), อินเวอร์เตอร์ (Inverter), และ มอเตอร์ไฟฟ้า โดยรถยนต์จะถูกขับเคลื่อนด้วยกำลังจากมอเตอร์ไฟฟ้าเท่านั้น ซึ่งกระแสไฟฟ้าที่ถูกส่งมาให้กับมอเตอร์ไฟฟ้านั้น จะถูกเก็บอยู่ในแบตเตอรี่กำลังสูง โดยที่มีเครื่องยนต์สันดาปภายในขนาดกะทัดรัดในทำหน้าที่ในการสร้างกระแสไฟฟ้าเข้ามาเก็บอยู่ตลอดเวลาเพื่อชดเชยกระแสไฟฟ้าที่ถูกใช้งานไป ด้วยแนวคิดและการออกแบบที่ล้ำหน้าของทีมวิจัยและพัฒนาของนิสสัน ภายใต้ ระบบอี-เพาเวอร์ เครื่องยนต์สันดาปภายในจะไม่เชื่อมต่อเข้ากับชุดส่งกำลังหรือเกียร์โดยตรง แต่จะทำงานร่วมกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อสร้างกระแสไฟฟ้าและชาร์จเข้ามาเก็บในแบตเตอรี ก่อนที่กระแสไฟฟ้านี้จะถูกส่งไปสู่มอเตอร์ไฟฟ้าในการสร้างกำลังเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนตัวรถ ระบบ อี-เพาเวอร์ มีความโดดเด่นกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับระบบไฮบริดแบบดั้งเดิม ซึ่งมีมอเตอร์ไฟฟ้าขนาดเล็กเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องยนต์สันดาปภายในเพื่อขับเคลื่อนผ่านระบบส่งกำลัง เพราะในระบบไฮบริดทั่วไปมอเตอร์ไฟฟ้าจะไม่ทำงานในภาวะที่แบตเตอรีมีกำลังไฟฟ้าต่ำหรือขณะอยู่ในย่านความเร็วสูง และขณะเดียวกัน ระบบ อี-เพาเวอร์ยังแตกต่างกับรถยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับพลังงานไฟฟ้ามาจากชาร์จแบตเตอรีเพียงอย่างเดียวอีกด้วย โดยทั่วไป โครงสร้างของระบบรถยนต์ไฟฟ้าแบบ นิสสัน ลีฟจำเป็นต้องมีมอเตอร์และแบตเตอรีขนาดใหญ่เป็นแหล่งกำลังหลักในการขับเคลื่อน ซึ่งยากต่อการนำระบบไปประยุกต์ให้เข้ากับรถยนต์แบบคอมแพ็กต์ทั่วไปได้ แต่ทีมวิศวกรของนิสสันสามารถค้นพบวิธีการที่ลดได้ทั้งขนาดและน้ำหนักไปจนถึงพัฒนาวิธีการควบคุมมอเตอร์และจัดการพลังงานไฟฟ้าที่เกิดขึ้น ซึ่งผลที่ได้ทำให้ขุมพลัง อี-เพาเวอร์ มีแบตเตอรีที่มีขนาดย่อมกว่านิสสัน ลีฟ แต่สามารถให้ความรู้สึกในการขับขี่เช่นเดียวกับรถยนต์ไฟฟ้า ขุมพลังแบบ อี-เพาเวอร์ (e-POWER) ให้แรงบิดมหาศาลในทันทีและคงที่ตลอดเวลาทำให้มีอัตราเร่งที่รวดเร็วแต่นุ่มนวล นอกจากนี้ยังมีความเงียบในระหว่างการขับเคลื่อนเช่นเดียวกับนิสสัน ลีฟที่เป็นรถยนต์ไฟฟ้า 100% โดยในระบบ อี-เพาเวอร์ เครื่องยนต์สันดาปภายในจะไม่ได้ทำหน้าที่ขับเคลื่อนตัวรถ จึงทำให้มีอัตราการบริโภคน้ำมันเชื้อเพลิงต่ำกว่าเมื่อเทียบกับเครื่องยนต์ในรถยนต์ไฮบริดทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งานในเมือง ซึ่งเทคโนโลยีสุดล้ำนี้ยังให้ผู้ขับขี่ได้รับประโยชน์เฉกเช่นเดียวกับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี (Battery Electric Vehicle – BEV) แต่สามารถลดความวิตกกังวลเมื่อต้องหาสถานีชาร์จไฟฟ้าได้อีกด้วย...
นวัตกรรม

จีเอ็มใช้ AI ออกแบบรถยนต์น้ำหนักเบา

จีเอ็ม เป็นหนึ่งในผู้ผลิตยานยนต์รายแรกของโลกที่นำเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ใหม่จากบริษัท ออโตเดสก์ ซึ่งเป็นบริษัทรับออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์จากเบย์ แอเรีย ซานฟรานซิสโก โดยเทคโนโลยีล้ำสมัยดังกล่าวใช้ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) และอัลกอริทึมในปัญญาประดิษฐ์ (AI)*  ซึ่งสามารถจัดเรียงและสับเปลี่ยนแบบชิ้นส่วนต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ได้ตัวเลือกแบบที่มีประสิทธิภาพสูง และมักจะเป็นรูปทรงเรขาคณิตแบบออแกนิค แบบที่ได้จะขึ้นอยู่กับเป้าหมายและการตั้งค่าของพารามิเตอร์ของผู้ใช้ โดยผู้ใช้จะต้องป้อนข้อมูลต่างๆ เช่น น้ำหนัก ความทนทาน ประเภทวัสดุ วิธีการผลิต และอื่นๆ จากนั้นผู้ใช้จะสามารถเลือกชิ้นส่วนที่เหมาะสมดีที่สุดเพื่อพิมพ์สามมิติ “เทคโนโลยีขั้นสูงนี้ทำให้เราสามารถออกแบบและพัฒนาชิ้นส่วนยานยนต์ในอนาคตของเราให้มีน้ำหนักเบาลงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น” นายเคน เคลเซอร์ รองประธานกรรมการ ฝ่าย Global Vehicle Components and Subsystems บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (จีเอ็ม) กล่าว  “เมื่อเรานำเทคโนโลยีการออกแบบมารวมกับความก้าวหน้าในการผลิต เช่น การพิมพ์สามมิติ ขั้นตอนการออกแบบและพัฒนายานยนต์ของเราจึงเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง เราสามารถสร้างชิ้นงานโดยการออกแบบร่วมกับคอมพิวเตอร์ในแบบที่เราไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะทำได้” จีเอ็มกำลังนำอุตสาหกรรมยานยนต์ในปัจจุบันเข้าสู่ยุคของยานยนต์น้ำหนักเบา เทคโนโลยีการออกแบบใหม่นี้ช่วยลดมวลน้ำหนักรถยนต์ลงอย่างเห็นได้ชัด และเพิ่มโอกาสในการรวมชิ้นส่วนซึ่งไม่สามารถทำได้ผ่านการออกแบบและวิธีในรูปแบบเดิม   จีเอ็มนำนวัตกรรมดังกล่าวมาใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์แห่งอนาคต วิศวกรจีเอ็มและออโตเดสก์ใช้เทคโนโลยีใหม่นี้ในการผลิตชิ้นส่วนของโครงสร้างเบาะที่นั่ง ซึ่งมีน้ำหนักเบาลง 40% และแข็งแรงขึ้น 20% เมื่อเทียบกับชิ้นส่วนเดิม นอกจากนี้ เทคโนโลยีดังกล่าวยังรวบรวมส่วนประกอบที่แตกต่างกัน 8 ส่วน แล้วพิมพ์ออกมาเป็นชิ้นส่วนแบบสามมิติ 1 แบบอีกด้วย   “แนวคิดการนำ AI มาช่วยใช้ออกแบบโครงสร้างเชิงวิศวกรรมนับว่าเป็นอนาคตของวงการการผลิต และจีเอ็มถือเป็นผู้นำในการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ในลดน้ำหนักรถยนต์ในอนาคตของจีเอ็ม”       นายสก็อตต์ รีส รองประธานกรรมการอาวุโส ฝ่ายผลิตภัณฑ์เพื่อการผลิตและการก่อสร้าง จากบริษัท ออโตเดสก์ กล่าว “การนำ AI มาใช้ในการออกแบบเป็นการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานทางวิศวกรรมอย่างสิ้นเชิง เพราะเราต้องคำนึงถึงขั้นตอนทางการผลิตตั้งแต่เริ่มต้นการออกแบบ และด้วยเทคโนโลยีนี้ วิศวกรจีเอ็มจะสามารถตรวจสอบตัวเลือกในการออกแบบที่พร้อมผลิตและมีประสิทธิภาพสูงกว่าร้อยแบบ ได้เร็วกว่าการตรวจสอบการออกแบบทีละแบบตามวิถีเดิม”...
นวัตกรรมไลฟสไตล์

ฟอร์ดเพิ่มฟีเจอร์ล้ำในรถรุ่นใหม่

นาย ดอน บัทเลอร์ ผู้อำนวยการบริหาร ฝ่ายการเชื่อมต่อแพลตฟอร์มรถยนต์และผลิตภัณฑ์  ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี กล่าวว่า ผู้ใช้แอปพลิเคชัน เวซ (Waze Application) ทั่วโลกสามารถใช้บริการระบบแผนที่นำทางและบอกสภาพการจราจรตามเวลาจริง พร้อมควบคุมการสั่งงานด้วยเสียง ผ่านหน้าจอสัมผัสในรถยนต์ฟอร์ดรุ่นต่าง ๆ ด้วยระบบ SYNC® AppLink® ได้แล้ววันนี้ โดยเจ้าของรถฟอร์ด รุ่นที่ติดตั้งระบบซิงค์ 3 อยู่แล้ว สามารถใช้ฟีเจอร์ในแอปพลิเคชันนี้ได้ง่ายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาเส้นทางที่ดีกว่า ระบุตำแหน่งสถานีบริการน้ำมันที่มีราคาน้ำมันถูกกว่า และการรายงานอุบัติเหตุบนท้องถนน สำหรับวิธีการใช้งาน เพียงแค่เชื่อมต่อไอโฟนที่ติดตั้งแอปพลิเคชัน เวซ เข้ากับยูเอสบีพอร์ตของรถยนต์ และเรียกใช้งานผ่านหน้าจอสัมผัสในรถ ซึ่งผู้ใช้ระบบ SYNC AppLink จะสามารถเข้าใช้งานฟีเจอร์ต่าง ๆ ของแอปพลิเคชันบนหน้าจอที่ใหญ่กว่า และยังสามารถฟังเสียงนำทางผ่านระบบลำโพงและไมโครโฟนในรถยนต์ได้อย่างง่ายดาย และสะดวกสบาย “ลูกค้าของฟอร์ดจะได้ใช้ประโยชน์จากแอปพลิเคชัน เวซ อย่างเต็มที่ พร้อมกับความสะดวกสบายที่เพิ่มมากขึ้นจากการใช้แอปพลิเคชันผ่านหน้าจอที่ใหญ่กว่า” นอกจากความสามารถในการรายงานข้อมูลเกี่ยวกับการจราจรติดขัด อุบัติเหตุ และราคาน้ำมันแล้ว การที่ฟอร์ดจับมือกับแอปพลิเคชัน เวซ ยังรวมไปถึงการอัพเดทล่าสุดอื่น ๆ ของแอปพลิเคชัน เช่น ทอล์ค ทู เวซ (Talk to Waze) ที่จะช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถควบคุมการใช้งานแอปพลิเคชันผ่านคำสั่งเสียงได้ รวมไปถึงฟีเจอร์ต่างๆ อย่างเช่น การแสดงตัวเลือกเส้นทางเพิ่มเติมเพื่อหลีกเลี่ยงช่องจราจรที่หนาแน่น ตัวเลือกการนำทางอื่นๆ และการคำนวณเวลาที่จะไปถึงที่หมายได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น นายเจนส์ บารอน หัวหน้าฝ่ายผลิตภัณฑ์ ด้านแอปพลิเคชันในรถยนต์ของแอปพลิเคชัน เวซ กล่าวว่า “เรามีความยินดีที่ผู้ขับขี่รถฟอร์ดที่ติดตั้งระบบซิงค์ 3 จะได้ใช้แอปพลิเคชัน เวซ สำหรับ iOS จากในรถยนต์ และเข้าถึงฟีเจอร์อันล้ำสมัยต่างๆ ของเราอย่างเช่น การวางแผนการขับขี่ ตัวเลือกเส้นทาง ระบบสั่งการด้วยเสียง ทอล์คทูเวซ และอื่นๆ ซึ่งผู้ขับขี่จะได้รับข้อมูลการแนะนำเส้นทางที่ดีที่สุด พร้อมการคำนวณระยะเวลาที่ใช้ถึงจุดหมายปลายทางที่แม่นยำที่สุด เนื่องจากคอมมูนิตี้ผู้ขับขี่ทั่วโลกต่างช่วยกันอัพเดทข้อมูลแผนที่ตามเวลาจริงระหว่างการเดินทาง...
คมนาคมนวัตกรรมรถเพื่อการพาณิชย์

เอฟอีวี สยายปีกรุกธุรกิจในเอเชีย ภายใต้บริษัท เอฟอีวี (ไทยแลนด์) จำกัด

เอฟอีวี บริษัทผู้พัฒนาระบบยานยนต์รายใหญ่จากเยอรมนี ประกาศรุกธุรกิจในเอเชียด้วยการเปิดตัวบริษัทสาขาแห่งใหม่ในไทยที่กรุงเทพมหานคร โดยสถานที่ตั้งบริษัทอยู่ที่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ภายใต้ชื่อ เอฟอีวี (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งเกิดจากการประสานความร่วมมือทั้งจากภาครัฐและลูกค้า เพื่อความต่อเนื่องในการการดำเนินธุรกิจด้านการพัฒนาระบบยานยนต์ เครื่องยนต์ ระบบส่งกำลังยานยนต์ ตลอดจนระบบพลังงานขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า แบตเตอรี่และเซลล์เชื้อเพลิง(fuel cell) ในเอเชีย โดยภายหลังพิธีเปิดบริษัทสาขาดังกล่าวแล้วได้มีการประชุมในหัวข้อ “ ทางออกของพลังงานขับเคลื่อนยานยนต์ในอนาคต” อีกด้วย นายสเตฟาน พิชชินเกอร์  ประธานและซีอีโอ ของเอฟอีวีกรุ๊ป กล่าวว่า  “ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยมีการเติบโตอย่างรวดเร็วและเทคโนโลยีสำหรับระบบขับเคลื่อนในอนาคตเพื่ออากาศที่สะอาดไร้มลพิษ แหล่งพลังงานที่ปลอดภัยและยั่งยืนกำลังเป็นที่ต้องการอย่างมาก รวมถึงระบบขับเคลื่อนที่มีประสิทธิภาพสูงกำลังเป็นที่ต้องการจากทั่วโลกอยู่ในขณะนี้ ซึ่งเอฟอีวี เป็นบริษัทที่มีเป้าหมายในการพัฒนาสิ่งเหล่านี้เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดเพื่อระบบยานยนต์ในอนาคต” นายอันด์ ไชน์ด ซีอีโอ ของเอฟอีวี เอเชีย กล่าวว่า “มหานครขนาดใหญ่ที่มีประชากรและรถยนต์จำนวนมหาศาลอย่างกรุงเทพ สามารถลดมลพิษและพัฒนาคุณภาพของอากาศได้ด้วยเทคโนโลยีและการพัฒนาระบบยานยนต์ของเอฟอีวี เช่น รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า รวมถึงการขับเคลื่อนของรถที่ใช้สองและสามล้อด้วย สิ่งสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นคือ ต้องเข้าถึงความต้องการและให้การสนับสนุนลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ” บริษัท เอฟอีวี กำลังจะเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการต่างๆของไทย โดยพัฒนาปรับปรุงระบบขับเคลื่อนแบบเดิมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงการจัดส่งอุปกรณ์ทดสอบเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยได้จัดส่ง อุปกรณ์ทดสอบเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ ระบบตรวจสอบและควบคุม คุณภาพตลอดจนการจัดหาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพื่อรองรับการพัฒนาของอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของไทยในยุค 4.0 นายอันเดรย์ สพุงศ์ กรรมการผู้จัดการของบริษัท เอฟอีวี (ไทยแลนด์) จำกัด มีประสบการณ์ในการทำงานกับเอฟอีวีมายาวนานถึง20ปีและมีความคุ้นเคยกับภูมิภาคในเอเชีย โดยก่อนหน้านี้เคยเป็น ซีอีโอของ บริษัทเอฟอีวี ประจำประเทศจีนรับผิดชอบงานด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หลังจากที่เคยดูแลปฏิบัติการทดลองระบบส่งกำลังยานยนต์ในประเทศอินเดียมาก่อน เกี่ยวกับเอฟอีวี เอฟอีวี เป็นบริษัทผู้ให้บริการด้านการพัฒนายานยนต์ที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองอาเคิน ประเทศเยอรมนี มีความเชี่ยวชาญหลากหลาย ทั้งในด้านการให้คำปรึกษาพัฒนานวัตกรรมยานยนต์ ระบบส่งกำลัง ตัวถังรถยนต์ ระบบเกียร์ ระบบขับเคลื่อนแบบไฮบริดและพลังงานไฟฟ้ารวมไปถึงเชื้อเพลิงทดแทนที่เพิ่มความสำคัญอย่างมากในปัจจุบัน นอกจากนี้ เอฟอีวียังมีความเชี่ยวชาญในการเพิ่มประสิทธิภาพระบบควบคุมอิเลกทรอนิกส์ที่เป็นกลไกในการเชื่อมต่อระบบขับเคลื่อนทั้งหมดเข้าด้วยกันโดยเฉพาะในการพัฒนาระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ เอฟอีวี กรุ๊ป มีพนักงานซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางอยู่ถึง 5,600 คนในบริษัทสาขา 40  แห่งในสี่ทวีปทั่วโลก...
นวัตกรรมรถยนต์ต่างประเทศรถใหม่ต่างประเทศเทสต์ไดรฟ์

โตโยต้า C-HR ไทย คว้า 5 ดาว จาก ASEAN NCAP

โตโยต้า C-HR รถยนต์ซับคอมแพคเอสยูวีรุ่นใหม่ล่าสุดของประเทศไทย ได้การรับรองมาตรฐานความปลอดภัยระดับ 5 ดาว จากการทดสอบการชนรถใหม่ในอาเซียน หรืออาเซียน เอ็นแคป (ASEAN NCAP) ตามหลักเกณฑ์การประเมินแบบใหม่สำหรับปี พ.ศ. 2560 – 2563 เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2561 โตโยต้า C-HR ได้รับการพัฒนาจากแนวคิดที่ท้าทายในการผลิตยนตรกรรมให้ดียิ่งกว่าของโตโยต้า (Ever-better Cars) ด้วยความมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์ “ยานพาหนะ” ที่มอบความอุ่นใจในทุกการเดินทาง ผ่านการบูรณาการความปลอดภัยอย่างครบถ้วน ซึ่งโตโยต้า  C-HR ที่ได้รับการทดสอบการชนนั้น เป็นรถที่มี ฐานการผลิตและขายในประเทศไทย อีกทั้งยังส่งออกไปในหลายประเทศทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยความเพียบพร้อมในทุกๆด้าน เช่น สมรรถนะในการขับขี่ ความปลอดภัย ความแข็งแกร่ง และทนทาน ทำให้ Toyota C-HR เป็นรถยนต์ซับคอมแพคเอสยูวีรุ่นแรกและรุ่นเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับรางวัล การรับรองมาตรฐานความปลอดภัยระดับ 5 ดาว จากการทดสอบการชนรถใหม่ในอาเซียน หรืออาเซียน เอ็นแคป (ASEAN NCAP) ภายใต้ "การประเมินผลแบบใหม่สำหรับปี พ.ศ. 2560 – 2563 ซึ่งได้รับการติดตั้งอุปกรณ์มาตรฐานความปลอดภัยที่ได้รับการพัฒนาล่าสุดอย่างครบครัน อันได้แก่     ถุงลมนิรภัย 7 ตำแหน่ง (ถุงลมนิรภัยคู่หน้า ถุงลมนิรภัยด้านข้าง ม่านถุงลม และถุงลมนิรภัยตำแหน่งหัวเข่าด้านคนขับ)     เข็มขัดนิรภัยคู่หน้าพร้อมระบบกลไกดึงกลับและผ่อนแรงดึงอัตโนมัติ สำหรับคนขับ และผู้โดยสาร (Retractor Pre-tensioner & Load Limiter for Driver and Passenger)  ระบบป้องกันล้อล็อก (Anti-lock Braking System – ABS)...
คมนาคมนวัตกรรมเศรษฐกิจไลฟสไตล์ไลฟสไตล์

นิสสันร่วมงาน Blognone Tomorrow

ในงาน Blognone Tomorrow ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรก นิสสันได้นำเสนอความก้าวหน้าด้านนวัตกรรมพลังงานขับเคลื่อน Nissan Intelligent Power นวัตกรรมการขับขี่ Intelligent Driving และนวัตกรรมการบูรณาการของยานยนต์สู่สังคม Intelligent Integration ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์ของนิสสันในการเปลี่ยนรูปแบบชองการขับขี่และการใช้ชีวิตในอนาคต ด้านนายวินเซนต์ ไวจ์เนน รองประธานอาวุโส นิสสัน เอเชีย และโอเชียเนีย (Vincent Wijnen, senior vice president for Nissan Asia and Oceania) กล่าวว่า นิสสันมีความเข้าใจในกลุ่มคนยุคมิลเลนเนียนที่ต้องการ การเชื่อมต่อไม่ว่าจะเป็นขณะขับขี่หรือขณะเป็นผู้โดยสารในรถ "ในปี 2020 ผู้ซื้อรถใหม่ 40% จะเป็นคนยุคมิลเลนเนียลที่คุ้นเคยกับโลกดิจิตอล ต้องการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตตลอด 24 ชั่วโมง ในทุกๆวัน รถยนต์จะเป็นมากกว่ายานพาหนะที่ช่วยให้เราย้ายจากจุด A ไปยังจุด B รถยนต์จะเป็นส่วนหนึ่งของไลฟ์สไตล์พวกเขา นิสสันมุ่งมั่นที่จะมอบประสบการณ์การขับขี่ที่มีความเพลิดเพลิน ปลอดภัย และยังยั่งยืน ผ่านแนวคิด Nissan Intelligent Mobility ของเรานี้ซึ่งเริ่มต้นด้วยการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า. จากการศึกษาของนิสสันร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาอย่าง Frost & Sullivan พบว่าผู้บริโภคชาวไทยกว่า 40% เปิดใจพร้อมซื้อรถยนต์ไฟฟ้าเป็นรถยนต์คันถัดไป และ นิสสันลีฟ (LEAF) ซึ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ขายดีที่สุดในโลกจะเปิดตัวในประเทศไทยภายในปีงบประมาณ 2561 ของบริษัทฯ นับเป็นผู้นำในรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV) ที่มีส่วนสร้างความยั่งยืนทั้งในด้านขับเคลื่อนและสิ่งแวดล้อม นาย ไวจ์เนน ยังอธิบายเพิ่มเติมว่า "เทคโนโลยี อี-พาวเวอร์ ของนิสสันให้ประสบการณ์การขับขี่แบบเดียวกับรถไฟฟ้าแต่ไม่ต้องใช้การชาร์จไฟด้วยการเสียบปลั๊กกับตัวรถ อี-พาวเวอร์จะใช้เครื่องยนต์เบนซินขนาดเล็กผลิตไฟเพื่อชาร์จสู่แบตเตอรี่แทน ในการอภิปรายเกี่ยวกับการขับขี่แบบอัตโนมัติ นายไวจ์เนน ได้ยกประเด็นผู้บริโภคในอนาคตจะใช้เวลาในการติดต่อกับเพื่อนหรือเข้าสังคมออนไลน์มากกว่าให้ความสนใจกับการจราจรติดขัด "ที่นิสสัน เราเชื่อมั่นในการสร้างทางเลือกแก่ผู้คน และเรามีทางเลือกในการขับขี่ให้กับลูกค้าของเรามากขึ้น เทคโนโลยี ProPILOT ซึ่งปัจจุบันมีวางจำหน่ายแล้วในประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ถือเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้เราได้รับการขับขี่อัตโนมัติเต็มรูปแบบ ด้วยเทคโนโลยีของนิสสันชนิดนี้...
1 22 23 24 25
Page 24 of 25