เศรษฐกิจมหาภาค

เศรษฐกิจเศรษฐกิจมหาภาค

ดัชนีอุตฯ ขึ้น 4 เดือนซ้อน หลังปลดล็อกเฟส 6 วอนรัฐ ยืดจ่ายเงินกู้ SMEs ไปอีก 2 ปี

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคม 2563 อยู่ที่ระดับ 84.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 82.5 ในเดือนกรกฎาคม 2563 โดยค่าดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 เนื่องจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและประชาชน ได้ร่วมมือกัน ทำให้สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ...
เศรษฐกิจเศรษฐกิจมหาภาค

ฮอนด้าไทยเตรียมส่งออกแอคคอร์ด ใหม่ ขายญี่ปุ่น

บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด รายงานว่า ล่าสุด ในเดือนตุลาคม 2562 ในงานโตเกียว มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 46 ที่ประเทศญี่ปุ่น ภายในบูทฮอนด้าได้จัดแสดงฮอนด้า แอคคอร์ด ใหม่ เจเนอเรชันที่ 10 เพื่อแนะนำแก่ลูกค้าชาวญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกและมีแผนที่จะวางจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นในช่วงต้นปี...
เศรษฐกิจเศรษฐกิจมหาภาค

นิสสันไทยฉลองส่งออกรถยนต์ครบ 1 ล้านคัน

นิสสันเดินหน้าบันทึกประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญ จากความสำเร็จในการผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออกจากฐานการผลิตในประเทศไทยไปยังจุดหมายปลายทางทั่วโลกครบ 1 ล้านคัน  ซึ่งรถยนต์คันที่ 1 ล้าน คือ นิสสัน เทอร์ร่า ใหม่ รถยนต์อเนกประสงค์พรีเมียมเอสยูวีแบบตัวถังบนแชสซีส โดยเป็นรถยนต์ที่โรงงานนิสสัน ประเทศไทยดำเนินการผลิตเพื่อส่งออกไปยังทั่วโลก นิสสันประเทศไทย  เริ่มทำการส่งออกรถยนต์คุณภาพสูงที่ผลิตขึ้นในประเทศไทยไปสู่ลูกค้าทั่วโลก นับตั้งแต่ปีพ.ศ.2542โดยนิสสันฟรอนเทียร์คือรถยนต์รุ่นแรกที่ถูกส่งออกไปยังประเทศออสเตรเลีย    นับแต่นั้นเป็นต้นมาฐานการผลิตของนิสสัน ประเทศไทย ได้มีการขยายตัวเพื่อรองรับการเติบโตที่เพิ่มสูงขึ้นจนได้รับการยอมรับให้เป็นศูนย์กลางการผลิตสำคัญของนิสสันในภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนีย ทำหน้าที่สำคัญในการผลิตรถยนต์คุณภาพส่งถึงมือลูกค้าผู้ขับขี่จากทั่วทุกมุมโลก ในปีที่ผ่านมาตลาดส่งออกสูงสุด 3 อันดับแรกของนิสสันประเทศไทยได้แก่ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น  ตามด้วยอินโดนีเซียมาเลเซีย  แอฟริกาใต้ เวียดนาม นิวซีแลนด์ ดูไบและโอมาน ตั้งแต่พ.ศ.2542 นิสสันได้ขยายการส่งออกรถยนต์จากประเทศไทยไปยังกว่า 115 ประเทศทั่วโลก โดยปัจจุบันรถยนต์ที่นิสสันประเทศไทยผลิตเพื่อการส่งออกมีจำนวน 6 รุ่นได้แก่  นิสสัน อัลเมลร่า  มาร์ช  นาวารา ซิลฟี่  เทียน่าและเทอร์ร่า   นอกจากนี้นิสสันยังได้ทำงานร่วมกับ 250 กว่าบริษัทที่อยู่ภายใต้ซัพพลายเชนของอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งก่อให้เกิดการว่าจ้างแรงงานอีกกว่า 170,000 อัตรา  และในปีพ.ศ.2561 นิสสันยังมีปริมาณการส่งออกรถยนต์ของไทยสูงสุดเป็นอันดับ 5 โดยมีอัตราเพิ่มขึ้นจากปีพ.ศ. 2560ถึง 19 % นายยูตากะ ซานาดะ  รองประธานอาวุโสของนิสสันเอเชียและโอเชียเนีย  กล่าวว่า“ความสำเร็จของนิสสัน        ในครั้งนี้เป็นการตอกย้ำถึงบทบาทของประเทศไทยที่มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์แห่งนวัตกรรม นิสสัน อินเทลลิเจนท์ โมบิลิตี้   ที่เน้นสร้างสรรค์รูปแบบการขับขี่ที่ปลอดภัยฉลาดและยั่งยืนให้แก่ผู้คนผู้ใช้รถบนท้องถนนทั่วทุกมุมโลก นอกจากนี้  ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เห็น นิสสัน เทอร์ร่า   รถยนต์เพื่อการส่งออกคันที่ 1 ล้านได้เดินทางออกจากท่าเรือแหลมฉบังในวันนี้  โดยนิสสัน เทอร์ร่า ซึ่งผลิตขึ้นในไทย สำหรับตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะนั้น ได้รับเสียงตอบรับจากลูกค้าทั่วทั่งภูมิภาคเป็นอย่างดี” โดยนายยูตากะซานาดะ    กล่าวเสริมว่า“เราจะยังคงเดินหน้าลงทุนในระบบนิเวศอุตสาหกรรมยานยนต์อย่างต่อเนื่องตลอดไปจนถึงการส่งเสริมให้เกิดสร้างงานและกระตุ้นให้เกิดการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจภายในประเทศพร้อมนำเอาประโยชน์จากอุตสาหกรรม 4.0 มาประยุกต์ใช้ให้เกิดคุณค่ากับประเทศไทย” ส่วนนายอันตวน  บาร์เตส ประธาน  บริษัท นิสสัน มอเตอร์...
เศรษฐกิจมหาภาค

ยอดขายรถ เดือน พ.ย.โกย 94,643 คัน เพิ่มขึ้น 21.2%

  นายสุรภูมิ อุดมวงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561 มียอดการขายรวมทั้งสิ้น 94,643 คัน  เพิ่มขึ้น 21.2%  ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 35,446 คัน เพิ่มขึ้น 12.8% รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 59,197 คัน เพิ่มขึ้น26.9% ขณะที่ รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ มีจำนวน 48,612 คัน เพิ่มขึ้น 27.5%            ประเด็นสำคัญ 1) ตลาดรถยนต์เดือนพฤศจิกายนปริมาณการขาย 94,643 คัน เพิ่มขึ้น 21.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 12.8% และตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 26.9% ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความนิยมในรถยนต์รุ่นใหม่และความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนกิจกรรมส่งเสริมการขายจากค่ายรถต่างๆที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง 2) ตลาดรถยนต์สะสม 11 เดือน มีปริมาณการขาย 928,158 คัน เพิ่มขึ้น 21% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีปริมาณการขายเติบโตเพิ่มขึ้น 17.9% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีปริมาณการขายเติบโตเพิ่มขึ้น 23% สะท้อนให้เห็นว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่มีมาอย่างต่อเนื่องทั้งปี ไม่ว่าจะเป็นในด้านการลงทุนและการใช้จ่ายส่งผลให้ยอดขายสะสมตั้งแต่ต้นปีเติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด 3) ตลาดรถยนต์ในเดือนธันวาคม มีแนวโน้มเติบโต เนื่องจากเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเมืองในประเทศมีสัญญาณดีขึ้น รวมถึงแผนการลงทุนของภาครัฐมีความชัดเจนมากขึ้น ประกอบกับการจัดงานThailand International Motor Expo 2018 ในช่วงต้นเดือนธันวาคม และความต่อเนื่องของกิจกรรมส่งเสริมการขาย ซึ่งจะส่งผลในเชิงบวกต่อตลาดรถยนต์ แต่อย่างไรก็ตามความกังวลต่อสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯกับจีนยังคงมีอยู่ แต่ยังไม่ส่งผลต่อตลาดรถยนต์มากนัก...
งานแสดงรถยนต์รถยนต์ในประเทศเศรษฐกิจเศรษฐกิจมหาภาค

สภาอุตฯเพิ่มเป้าผลิตรถยนต์ เป็น 2.08 ล้านคัน

เศรษฐกิจไทยฉลุย สภาอุตฯปรับเป้าการผลิตรถยนต์เพิ่มเป็น 2.08 ล้านคัน โดยคงเป้าผลิตเพื่อส่งออก 1.1 ล้านคัน และเพิ่มเป้าผลิตเพื่อขายในประเทศ เป็น 9.8 แสนคัน นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยตัวเลขประมาณการการผลิตรถยนต์ของสมาชิกกลุ่มฯ ในปี พ.ศ.2561 ซึ่งปรับใหม่ในเดือนกรกฎาคม 2561 โดยแยกเป็นการผลิตเพื่อการส่งออก และการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ดังนี้ รถยนต์ประมาณการการผลิตรถยนต์ในปี พ.ศ.2561 ปรับเพิ่มเป้าการผลิตจากเป้าเดิมอีก 80,000 คัน เป็นผลิต 2,080,000 คัน มากกว่าปี พ.ศ.2560 ที่ผลิตได้ 1,988,823 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้น 4.58 % ผลิตเพื่อส่งออก คงเป้าเดิม 1,100,000 คัน เท่ากับ 52.88% ของยอดผลิตทั้งหมด ลดลงจากปีที่แล้วที่ผลิตได้ 1,126,432 คัน หรือลดลง 2.35 % ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ปรับเพิ่มเป้าจากเป้าเดิมอีก 80,000 คัน เป็นผลิต 980,000 คัน เท่ากับ 47.12 % ของยอดผลิตทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่ผลิตได้ 862,391 คัน หรือเพิ่มขึ้น 13.64 % เป้าขายในประเทศเพิ่มขึ้นตามเศรษฐกิจที่เติบโตขึ้นจากการลงทุนของภาครัฐ การช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย การท่องเที่ยวที่เติบโตขึ้น ดัชนีรายได้เกษตรกรดีขึ้น รวมทั้งการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้น การแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ที่มีต่อเนื่อง และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมดีขึ้น ส่วนการส่งออกคงเป้าเดิม เพราะยังกังวลสงครามการค้าที่อาจขยายตัวขึ้น ค่าเงินสกุลต่างๆ ผันผวนซึ่งอาจฉุดการค้าโลกและเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงได้ ราคาน้ำมันดิบผันผวนและกระแสเงินไหลออกจากประเทศเกิดใหม่ จากการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดด้วย  ...
มาร์เก็ตติ้งเศรษฐกิจเศรษฐกิจมหาภาคไลฟสไตล์ไลฟสไตล์

“เจอร์ไฮ” จับมือ “ดองวอน”บุกขายในเกาหลีใต้  

เจอร์ไฮ เล็งขยายช่องทางจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารสุนัขในเอเชีย ลงนามความร่วมมือกับยักษ์ใหญ่ธุรกิจอาหารชั้นนำในระดับ Top5 ของเกาหลีใต้ Dongwon F&B Co., Ltd.  พร้อมนำเข้าวัตถุดิบอาหารสำเร็จรูปจากดองวอน นายสุธา ด่านเสริมสุข รองกรรมการผู้จัดการ ด้านการค้าต่างประเทศ บริษัท ซีพีเอฟ ฟู้ด แอนด์ เบฟเวอร์เรจ จำกัด เปิดเผยว่า  การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ดำเนินการในนาม บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนลเพ็ทฟู้ด จำกัด และ บริษัท ซีพีเอฟ ฟู้ด แอนด์ เบฟเวอเรจ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของซีพีเอฟ ขณะที่ บริษัท ดองวอน เอฟ แอนด์ บี จำกัด เป็นผู้ผลิตอาหาร-เครื่องดื่มแถวหน้าของเกาหลีใต้ ที่มีช่องทางการจำหน่ายครอบคลุมทั่วประเทศ ทั้งโมเดิร์นเทรด ร้านสะดวกซื้อ รวมถึงการจัดจำหน่ายสินค้าออนไลน์  จึงนับเป็นโอกาสอันดีที่จะช่วยให้ผลิตภัณฑ์ของบริษัท สามารถเข้าถึงผู้บริโภคชาวเกาหลีใต้ได้มากยิ่งขึ้น โดยบริษัทจะนำร่องด้วยการส่งผลิตภัณฑ์อาหารสุนัข “เจอร์ไฮ” เข้าไปจำหน่ายยังตลาดกลุ่มผู้รักการเลี้ยงสัตว์ซึ่งกำลังขยายตัวอย่างมากในเกาหลีใต้  นอกจากนี้ยังครอบคลุมถึงความร่วมมือด้านนวัตกรรมและเทคโนโลนีการผลิตด้วย ขณะเดียวกัน บริษัท ซีพีเอฟ ฟู้ด แอนด์ เบฟเวอเรจ จำกัด จะนำเข้าวัตถุดิบในการปรุงอาหารอันมีชื่อเสียงจากดองวอน อาทิ ชีส สาหร่าย และแผ่นปลาทะเล เพื่อใช้เป็นส่วนผสมสำหรับการสร้างสรรค์เมนูอาหารใหม่ๆ ตอบสนองผู้บริโภคชาวไทยทุกเพศทุกวัย รวมถึงคัดเลือกผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆของดองวอนเข้ามาทดลองตลาดในประเทศไทยด้วย ทั้งนี้ Dongwon F&B Co., Ltd. เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอาหารที่หลากหลาย ทั้งกลุ่มอาหารกระป๋อง เช่น ทูน่ากระป๋อง อาหารว่างเช่นไส้กรอก สาหร่าย ตลอดจน ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและอาหารเสริม โดยมีช่องทางการจัดจำหน่ายที่แข็งแกร่ง จัดเป็นธุรกิจอาหารยักษ์ใหญ่ระดับ Top5 ของเกาหลีใต้...
กิน-เที่ยวมาร์เก็ตติ้งเศรษฐกิจเศรษฐกิจมหาภาคไลฟสไตล์ไลฟสไตล์

พาณิชย์ชูแฟรนไชส์สร้างงานผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

พาณิชย์ นำแฟรนไชส์ 50 แบรนด์ สร้างงาน สร้างอาชีพ กระจายรายได้ ให้ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผู้ว่างงาน และผู้สนใจ เลือกซื้อแฟรนไชส์ที่เหมาะสม คาดจบโครงการฯ 20 จังหวัด สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้กว่า 100 ล้านบาท กระจายรายได้ให้ส่วนภูมิภาคอย่างทั่วถึง นางกุลณี อิศดิศัย อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า จากนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์) ที่ต้องการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผู้มีรายได้น้อย และผู้ว่างงาน ภายใต้โครงการ “แฟรนไชส์สร้างอาชีพ” เพื่อสร้างอาชีพสร้างรายได้อย่างยั่งยืนและลดการพึ่งพาสวัสดิการของรัฐในอนาคต โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้นำแฟรนไชส์ที่มีเงินลงทุนไม่สูงลงพื้นที่ในส่วนภูมิภาค เป็นจังหวัดที่มีผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเป็นจำนวนมาก และเป็นจังหวัดท่องเที่ยวเมืองรองจำนวน 20 จังหวัด ให้ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและผู้ที่สนใจเลือกนำไปประกอบเป็นอาชีพ “ตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา กรมฯ ได้นำธุรกิจแฟรนไชส์ จำนวน 100 แบรนด์ ลงพื้นที่มาแล้ว 6 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ลำปาง อุดรธานี เชียงราย นครศรีธรรมราช และกำแพงเพชร โดยแฟรนไชส์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ ประเภทอาหารและเครื่องดื่ม เนื่องจากเป็นธุรกิจที่สามารถบริหารจัดการและจำหน่ายได้ง่าย รองลงมา คือ ธุรกิจเกี่ยวกับความงาม และบริการ ซึ่งจากการนำธุรกิจแฟรนไชส์ลงพื้นที่ทั้ง 6 จังหวัด สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้กว่า 20 ล้านบาท คาดว่าเมื่อจบทั้งโครงการ (20 จังหวัด) จะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท และระหว่างวันที่ 9 - 12 สิงหาคม 2561 นี้ กรมฯ จะนำธุรกิจแฟรนไชส์ลงพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นจังหวัดที่ 7 เพื่อให้ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผู้มีรายได้น้อย และผู้ว่างงานได้เลือกซื้อเพื่อนำไปประกอบเป็นอาชีพต่อไป”...
คมนาคมอสังหาฯเศรษฐกิจมหาภาค

การบินไทยเซ็น MOU ศูนย์ซ่อมอู่ตะเภา

การบินไทยร่วมลงนามกับ กองทัพเรือ และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ในบันทึกข้อตกลงเบื้องต้นว่าด้วยการให้สิทธิแก่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อประกอบกิจการบนพื้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ซึ่งเป็นพื้นที่เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ พลเรือเอก นริส ประทุมสุวรรณ ผู้บัญชาการทหารเรือ นายโชคชัย ปัญญายงค์ รองเลขาธิการสายงานโครงสร้างพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และนางอุษณีย์ แสงสิงแก้ว รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเบื้องต้นว่าด้วยการให้สิทธิแก่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อประกอบกิจการบนพื้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ซึ่งเป็นพื้นที่เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ โดยมี พลเรือเอก โสภณ วัฒนมงคล ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพเรือ เรืออากาศโท เฉลิมพล อินทรวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักสายงานโครงสร้างพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก นายสุรชัย เพียรเจริญศักดิ์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายช่าง การบินไทย ร่วมเป็นสักขีพยาน และมีนายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ประธานกรรมการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และเรืออากาศเอก กนก ทองเผือก รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายบริหารงานกฎหมายและบริหารทั่วไป บริษัท การบินไทยฯ ร่วมในพิธี ณ ห้องรับรอง กองบัญชาการกองทัพเรือ วังนันทอุทยาน นางอุษณีย์ แสงสิงแก้ว รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าการลงนามในบันทึกข้อตกลงเบื้องต้นว่าด้วยการให้สิทธิแก่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อประกอบกิจการบนพื้นที่ ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ซึ่งเป็นพื้นที่เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ นี้ เป็นการดำเนินการในลำดับถัดมาต่อจากการจัดทำรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา ซึ่งจะใช้นำไปประกอบการเสนอขอความเห็นชอบในหลักการของโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภาจากคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก   บันทึกข้อตกลงเบื้องต้นฯ นี้ จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมอบสิทธิจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และกองทัพเรือ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่บริหารพื้นที่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ให้แก่ บริษัท...
คมนาคมเศรษฐกิจเศรษฐกิจมหาภาค

จัดงาน EEC Workshop ดึงนักลงทุนญี่ปุ่น

กระทรวงอุตสาหกรรม จับมือหอการค้าญี่ปุ่น และเจโทร ให้ข้อมูลเชิงลึกการลงทุนในอีอีซี หวังดึงนักธุรกิจญี่ปุ่นร่วมลงทุนมากขึ้น เผยมีนักลงทุนกว่า 1 พันรายแสดงความสนใจลงทุนแล้ว นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า  กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับ หอการค้าญี่ปุ่น กรุงเทพฯ (JCC) และองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ Eastern Economic Corridor (EEC) Workshop ให้กับนักลงทุนญี่ปุ่นที่มีความสนใจที่จะลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรือ ECC เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ รูปแบบการลงทุน พร้อมกันนี้ได้เผยถึงความคืบหน้าในเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใน EEC โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้เชิญผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญ จำนวน 4 หน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญ ได้แก่ สำนักงาน BOI สำนักงาน EEC การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และกรมสรรพากร เป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการลงทุนในเขต EEC  โดยมีนักลทุนจากญี่ปุ่นราว 100 ราย เข้าร่วมงาน สำหรับการจัดงานดังกล่าว เป็นผลสืบเนื่องจากได้มีโอกาสพบกับประธานหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ (JCC) ประธาน JETRO และคณะ เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ที่ผ่านมา ทำให้ทราบว่านักลงทุนญี่ปุ่นมีความสนใจที่จะทราบข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ รูปแบบการลงทุน และความคืบหน้าในเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใน EEC การจัดงานดังกล่าว เป็นการแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับการเป็นพันธมิตรและหุ้นส่วน เศรษฐกิจที่ดีกับทั้งภาครัฐและภาคเอกชนของญี่ปุ่นเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ รัฐบาลมุ่งหวังให้โครงการ EEC เป็นการสร้างฐานความเจริญใหม่ที่มีศักยภาพสูง (New High Potential Growth Platform) ที่จะนำไปสู่การเจริญเติบโตแบบทั่วถึงทุกภาคส่วน (Inclusive Growth) ในรูปแบบ WIN-WIN ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทญี่ปุ่นในพื้นที่ EEC จำนวนกว่า 1,000 บริษัท ที่มีความเชื่อมั่นในศักยภาพของไทย นอกจากนี้ เมื่อเดือนที่กรกฎาคม ทีผ่านมา  JCC และ JETRO...
คมนาคมมาร์เก็ตติ้งอสังหาฯเศรษฐกิจเศรษฐกิจมหาภาค

รถไฟความเร็วสูงไทย-จีนคืบหน้า

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 25 และลงนามบันทึกผลการประชุมคณะกรรมการร่วมฯ ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายนิ่ง จี๋เจ๋อ รองประธานคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติของจีน ทำหน้าที่ประธานร่วมการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 25 และลงนามบันทึกผลการประชุมคณะกรรมการร่วมฯ ในวันที่ 10 สิงหาคม 2561 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมี นายพิริยะ เข็มพล เอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านทางหลวง นายวีรพล ปานะบุตร อัยการอาวุโส นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงคมนาคม นางศิรสา กันต์พิทยา รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ นางธิดา พัทธธรรม ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม และสำนักงานบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย – จีน ร่วมการประชุม ซึ่งได้หารือเกี่ยวกับความคืบหน้าแต่ละประเด็นของโครงการฯ ได้แก่ ความคืบหน้าการดำเนินการตามสัญญา 2.1 (สัญญาการออกแบบรายละเอียดโครงการ) และสัญญา 2.2 (สัญญาที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง) รวมถึงการเจรจาสัญญา 2.3 (งานระบบราง ระบบไฟฟ้า และเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร) แนวทางการดำเนินโครงการระยะที่สอง (ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย) การเชื่อมต่อทางรถไฟช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ ความร่วมมือด้านการเงิน และแนวทางการถ่ายทอดเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงให้แก่ฝ่ายไทย...
1 2
Page 1 of 2