รถยนต์ต่างประเทศ

นวัตกรรมรถยนต์ต่างประเทศ

ก้าวเข้าสู่ยุครถสปอร์ตพลังไฟฟ้ากับ ปอร์เช่ ไทคานน์ ใหม่

ด้วยการทุ่มงบประมาณลงทุนสูงถึง 6,000 ล้านยูโรพร้อมด้วยบุคลากรคุณภาพกว่า 1,200 ตำแหน่งทั้งหมดนี้เพื่อการถือกำเนิดของปอร์เช่ไทคานน์(Porsche Taycan)เท่านั้น พร้อมกับการมุ่งมั่นปรับปรุงพัฒนาสายการผลิตใหม่ Porsche Production 4.0 ผสานกับแคมเปญเผยแพร่องค์ความรู้ให้กระจายทั่วถึงทุกภาคส่วนภายในองค์กร ตอกย้ำถึงความเชื่อมั่นต่อพันธกิจการสร้างสรรค์อนาคตของยานพาหนะพลังงานไฟฟ้า บริษัทผู้ผลิตยนตรกรรมสปอร์ตระดับแนวหน้าของโลก กำลังดำเนินการเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างยิ่งใหญ่ และนี่คืออีกหนึ่งครั้งที่หน้าประวัติศาสตร์วงการยานยนต์จะต้องจารึกเอาไว้ “เราคาดการณ์ว่าภายในปี 2025กว่า50เปอร์เซ็นต์ ของรถยนต์ปอร์เช่รุ่นใหม่ที่วางจำหน่าย จะเป็นรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า” ข้างต้นคำกล่าวของ Lutz Meschkeรองประธานและสมาชิกคณะกรรมการบริหาร ผู้รับผิดชอบกำกับดูแลส่วนงานการเงินและเทคโนโลยีสารสนเทศของปอร์เช่งบประมาณดังกล่าวจะครอบคลุมถึงการลงทุนในภาคปฏิบัติอีกด้วยอาทิ การพัฒนาหน่วยงานและปรับปรุงกรรมวิธีการผลิต นอกจากนี้ยังรวมถึงการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ อย่างไรก็ตาม เป้าหมายในแง่ของผลกำไรขั้นต้นซึ่งจะต้องทำให้ได้อย่างน้อย 15 เปอร์เซ็นต์นั้นยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด"นอกเหนือจากกระบวนการผลิตที่ได้รับการเพิ่มประสิทธิภาพ ในส่วนของรายรับจากผลิตภัณฑ์และบริการด้านดิจิทัลควรจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น สืบเนื่องจากความสำเร็จของธุรกิจหลักของเรา"Meschke กล่าวเสริม อีกหนึ่งตัวอย่างที่แสดงถึงศักยภาพระดับสูงของกระบวนการผลิตรถยนต์และการประยุกต์ใช้ทรัพยากรในสายการผลิตปอร์เช่ไทคานน์ใหม่นั่นคือสิ่งที่เรียกว่า“factory within a factory” ในโรงงานหลักที่Zuffenhausenปอร์เช่เริ่มส่งสัญญาณที่บ่งบอกถึงการยกระดับตนเองออกจากขั้นตอนการผลิตรูปแบบเดิมAlbrecht Reimoldสมาชิกคณะกรรมการบริหารผู้ดูแลรับผิดชอบสายการผลิตและโลจิสติกส์อธิบายว่า “ด้วยการนำกระบวนการผลิตแบบยืดหยุ่นมาปรับใช้งาน ปอร์เช่จะกลายเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายแรกที่ใช้ระบบการขนส่งของสายงานแบบ driverless transport systems อย่างต่อเนื่องในสายพานการผลิต” สิ่งนี้จะช่วยให้เกิดการผสมผสานข้อได้เปรียบนานับประการระหว่างวิธีการผลิตแบบดั้งเดิมอันรวดเร็วและวิธีการผลิตแบบยืดหยุ่นที่เต็มไปด้วยความอเนกประสงค์ยิ่งไปกว่านั้นวิธีการดังกล่าวยังช่วยเพิ่มจำนวนรอบในการปฏิบัติงานให้สูงขึ้น โดยที่ใช้พื้นที่ในการผลิตเท่าเดิมด้วยแนวคิดที่ยึดตามหลัก“smart, green, lean”ปอร์เช่ยังสามารถควบคุมการใช้ทรัพยากรสำหรับการผลิตได้อย่างดีเยี่ยมอีกด้วยกระบวนการผลิตปอร์เช่ ไทคานน์ นั้นไม่ก่อให้เกิดมลพิษจากสารประกอบคาร์บอนสายการผลิตแห่งนี้ตั้งเป้าหมายเพื่อการเป็นโรงงานที่ปราศจากผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยสมบูรณ์ในอนาคต ความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดขององค์ความรู้ที่มีการเคลื่อนไหวและถ่ายทอดระหว่างสายงานมอเตอร์สปอร์ตและสายการผลิตรถยนต์ปกตินั้นจำเป็นต้องได้รับการเผยแพร่ในวงกว้างยิ่งขึ้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ รถแข่งปอร์เช่919 ไฮบริด (Porsche 919 Hybrid)ผู้พิชิตชัยชนะจากการแข่งขัน Le Mans มาแล้วหลายครั้ง ทั้งนี้นวัตกรรมเทคโนโลยีระบบขับเคลื่อนด้วยแรงดันไฟฟ้า 800โวลต์ที่ได้รับการติดตั้งใน ไทคานน์(Taycan)คือสิ่งที่ส่งต่อมาจากรถแข่งพลังแรงคันดังกล่าวระบบขับเคลื่อนสุดล้ำที่เป็นหัวใจหลักของปอร์เช่ 919(Porsche 919) มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดบรรทัดฐานให้กับแหล่งกำเนิดพลังงานไฟฟ้าในรถยนต์: ไม่ว่าจะเป็นชุดแบตเตอรี่ การจัดวางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รวมไปถึงปริมาณความจุและกระบวนการชาร์จพลังงานทั้งหมดข้างต้นล้วนแล้วแต่ผ่านการค้นคว้า วิจัย พัฒนาอย่างพิถีพิถันเพื่อให้เหมาะสมกับศักยภาพระดับสูงของระบบ 800 โวลต์ปอร์เช่ผลักดันทุกความเป็นไปได้โดยมีจุดมุ่งหมายในการก้าวข้ามขีดจำกัดเดิมในด้านเทคนิคให้หมดสิ้นไปโดยแบตเตอรี่แบบ liquid-cooled lithium-ionเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่ถือกำเนิดขึ้นเพื่อให้สามารถสนองตอบต่อเงื่อนไขของการประลองความเร็วบนสนามแข่งขันอันสุดแสนทรหดปอร์เช่มุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีมากมายมาเป็นระยะเวลายาวนานจนกระทั่งประสบความสำเร็จด้วยการสร้างอุปกรณ์กัก เก็บพลังงานไฟฟ้าที่มีความจุมหาศาลอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน คือเครื่องยืนยันถึงประสิทธิภาพชั้นเลิศในการชาร์จพลังงานย้อนกลับมายังแบตเตอรี่lithium-ion ด้วยระยะเวลาเพียง 4 นาทีสามารถชาร์จพลังงานเพียงพอสำหรับการเดินทางไกลถึง 100 กิโลเมตร  กระบวนการ Quick charging มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบชาร์จพลังงานสำหรับยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้านั่นคือเหตุผลที่โครงการปอร์เช่ E-Performance ตัดสินใจลงมือพัฒนาในหลากหลายจุดครอบคลุมทั้งระบบสาธารณูปโภคที่สามารถตอบโจทย์และแก้ไขปัญหาการใช้งานทั้งภายในที่พักอาศัยและระหว่างการเดินทางด้วยปริมาณความจุพลังงานไฟฟ้าสูงสุดกว่า 22กิโลวัตต์ระบบ Porsche Mobile...
นวัตกรรมรถใหม่ต่างประเทศ

Volvo 360c ยานยนต์ไร้คนขับ ปลอดภัยไร้อุบัติเหตุ

วอลโว่ ริเริ่มแนวคิดการพัฒนารถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติรุ่น 360c ใหม่ล่าสุด มุ่งหน้าสู่ความท้าทายใหม่ในการนำเสนอเทคโนโลยีการขับเคลื่อนอัตโนมัติ พร้อมเรียกร้องให้ทั่วโลกสร้างมาตรฐานสากลรูปแบบใหม่เพื่อการสื่อสารของรถยนต์ระบบอัตโนมัติกับผู้ใช้รถใช้ถนนได้อย่างปลอดภัย การขับเคลื่อนอัตโนมัติและความปลอดภัยมีความสัมพันธ์กันอย่างมาก และเทคโนโลยีมีศักยภาพในการยกระดับสวัสดิภาพบนท้องถนนได้อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเห็นได้จากการที่วอลโว่ได้คิดค้นเข็มขัดนิรภัยแบบสามจุดมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1959 อย่างไรก็ดี เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติไม่สามารถนำมาใช้ได้ในชั่วข้ามคืน หากต้องดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้น รถยนต์ระบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบจะถูกนำมาใช้ในสภาพการขับขี่บนท้องถนนแบบผสมผสานซึ่งรถยนต์ไร้คนขับจะได้ใช้ถนนร่วมกับผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่น ๆ สภาพการจราจรบนท้องถนนนั้นระบบอัตโนมัติไม่สามารถตรวจจับผู้อื่นและไม่สามารถล่วงรู้ถึงเจตนาของผู้ขับรถยนต์คันอื่นได้ ซึ่งนี่ถือเป็นองค์ประกอบหลักของการเกิดปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้ท้องถนนในทุกวันนี้ ทีมวิศวกรด้านความปลอดภัยของวอลโว่จึงตัดสินใจมุ่งหน้าสู่ความท้าทายนี้ เพื่อค้นหาการสร้างวิธีการที่ปลอดภัยในการสื่อสารระหว่างรถยนต์ระบบอัตโนมัติกับผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่นๆ ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนารถยนต์รุ่น 360c รุ่นใหม่ของวอลโว่ นอกจากนี้ วอลโว่ยังให้ความสำคัญกับการสร้างมาตรฐานสากล เพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนนไม่ต้องกังวลถึงรูปแบบหรือแบรนด์ผู้ผลิตรถยนต์ระบบอัตโนมัติที่มีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกัน รถยนต์รุ่น 360c แก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ด้วยการนำเสนอระบบที่จับทั้งสัญญาณเสียง สี ภาพ การเคลื่อนไหวภายนอกตัวรถ รวมถึงการผสมผสานเครื่องมือเหล่านี้เข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในการสื่อสารเจตนาของผู้ขับไปยังผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยสร้างความชัดเจนได้ตลอดเวลาว่ารถยนต์คันนี้จะทำสิ่งใดเป็นไปตามลำดับ สิ่งสำคัญเหนืออื่นใด แม้การออกแบบเทคโยโลยีการสื่อสารที่ปลอดภัยของ 360c จะให้ความสำคัญกับการสื่อสารเจตนาของผู้ขับไปยังผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่น ๆ แล้วก็ตาม แต่ 360c จะไม่มีการบังคับทิศทางหรือให้คำชี้นำใด ๆ กับผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่น ๆ “เราเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า รูปแบบการสื่อสารนี้ควรกำหนดเป็นมาตรฐานสากล เพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคนสามารถสื่อสารกับรถยนต์ระบบอัตโนมัติได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องกังวลว่าเป็นรถยนต์ที่พัฒนาโดยผู้ผลิตรายใด” มาลิน เอคโฮล์ม รองประธานศูนย์ความปลอดภัยวอลโว่ กล่าว “เป็นเรื่องสำคัญที่เราจะต้องไม่ชี้นำผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่น ๆ ให้ปฏิบัติสิ่งใดเป็นขั้นตอนตามลำดับ เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ งานวิจัยของเราแสดงให้เห็นว่านี่คือวิธีการที่ปลอดภัยที่สุดของรถยนต์ระบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบ ในการสื่อสารกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั่วไป” รถยนต์รุ่น 360c แสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของวอลโว่ในเรื่องของการเดินทางในอนาคต ที่ควบคุมด้วยระบบอัตโนมัติ พลังงานไฟฟ้า การเชื่อมต่อ และความปลอดภัย ซึ่งจะทำให้แบรนด์วอลโว่รุกสู่ตลาดที่มีศักยภาพแห่งใหม่ รถยนต์รุ่นนี้ยังมอบความเป็นเลิศในการใช้งานยานยนต์อัตโนมัติแห่งอนาคตทั้ง 4 รูปแบบ ได้แก่การมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการนอนหลับ สำนักงานเคลื่อนที่ ห้องพักผ่อน และศูนย์รวมความบันเทิง ซึ่งจะเปลี่ยนแนวคิดในการเดินทางของผู้คนไปตลอดกาล สำหรับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการนอนหลับ ทีมวิศวกรรด้านความปลอดภัยของวอลโว่ได้คำนึงถึงอนาคตของเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยและท่วงท่าของผู้โดยสารที่จะส่งผลถึงความปลอดภัย โดยได้มีการติดตั้งผ้าห่มนิรภัยรุ่นพิเศษในการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการนอนหลับเพื่อแสดงถึงระบบการควบคุมแห่งอนาคตที่ทำงานเหมือนกับระบบเข็มขัดนิรภัยแบบสามจุด แต่สามารถปรับตำแหน่งให้เหมาะสมกับการเอนตัวนอนของมนุษย์ในขณะเดินทางได้อย่างเหมาะสม รถยนต์วอลโว่รุ่น 360c มุ่งเป้าหมายไปที่กลุ่มลูกค้ารุ่นใหม่ที่มีศักยภาพต่อการเติบโตของบริษัท และถือเป็นการสื่อนัยต่อความจำเป็นในการวางผังเมือง การสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน และการวางแนวทางการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมของเมืองสมัยใหม่ที่อาจเกิดขึ้นได้จริงในอนาคตอันใกล้นี้  ...
รถยนต์ต่างประเทศ

ยอดขายปอร์เช่เติบโต ในเยอรมนีและทวีปยุโรป

การพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาเกือบ 1 ปี: Porsche AG สามารถเพิ่มจำนวนการส่งมอบรถยนต์ใหม่ได้มากขึ้นถึง6เปอร์เซ็นต์ หรือคิดเป็นจำนวนทั้งสิ้น 196,562 คันภายในช่วงเวลาเพียง 9 เดือนแรกของปี 2018ด้วยการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพของบริษัทผู้ผลิตรถสปอร์ตชั้นนำของโลกรายนี้ ส่งผลต่อความแข็งแกร่งของปอร์เช่ที่เพิ่มขึ้นในภูมิภาคยุโรป โดยแสดงให้เห็นจากอัตราการเติบโตที่เพิมสูงขึ้นถึง 9 เปอร์เซ็นต์ หรือ 66,551คันเฉพาะในประเทศเยอรมนีเพียงแห่งเดียว ปอร์เช่มียอดส่งมอบเพิ่มขึ้นถึงกว่า13เปอร์เซ็นต์ คิดเป็น 24,709 คันในส่วนของประเทศจีนซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่สุดของปอร์เช่ ตัวเลขจำนวนการส่งมอบรถยนต์ใหม่ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง4เปอร์เซ็นต์ หรือ 56,254 คันเมื่อพิจารณาแยกแต่ละรุ่นปอร์เช่พานาเมร่า (Porsche Panamera)คือรุ่นที่มีอัตราการเติบโตของยอดขายเป็นสัดส่วนที่เติบโตสูงสุด:หลังสิ้นเดือนกันยายน จำนวนของรถสปอร์ตซาลูน 4 ประตูที่ถูกส่งมอบถึงมือลูกค้าทั่วโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนถึง 60 เปอร์เซ็นต์ทางด้านปอร์เช่ 911 (Porsche 911)สามารถรักษาอัตราการเติบโตของยอดจำหน่ายที่ตัวเลขสองหลักด้วยสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นกว่า 19 เปอร์เซ็นต์สำหรับปอร์เช่รุ่นที่สร้างยอดจำหน่ายได้มากที่สุดยังคงเป็นสปอร์ต SUV มาคันน์ (Macan) จากยอดส่งมอบรวม 68,050 คันและตามมาด้วยคาเยนน์ (Cayenne)ที่ 49,715 คัน “ในประเทศเยอรมนีและทวีปยุโรป ผลจากความยอดเยี่ยมของผลิตภัณฑ์ยานยนต์ปอร์เช่ทุกรุ่น คือหัวใจหลักที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งและรักษาสถานะความเป็นที่สุดแห่งยนตกรรมสปอร์ตที่ครองใจผู้ใช้ทั่วโลก รวมทั้งเป็นที่ต้องการครอบครองของบรรดาผู้หลงใหลความแรงได้อย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาเก้าเดือนแรกของปีนี้” ข้างต้นคือคำกล่าวของ  Detlev von Platenสมาชิกคณะกรรมการบริหารผู้กำกับดูแลส่วนงานขายและการตลาดของปอร์เช่ “นอกจากนี้พวกเรายังรู้สึกยินดีอย่างยิ่งกับอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้นในส่วนของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศจีนเช่นเดียวกัน”   “ยังคงมีภารกิจสำคัญที่ท้าทายความสามารถอีกมากมาย รอคอยพวกเราอยู่ในไตรมาสที่ 4 แน่นอนว่าเราจะต้องทำงานเชิงรุกเพื่อให้มั่นใจว่างานดังกล่าวจะสำเร็จลุล่วงไปได้ตามความมุ่งหมาย ซึ่งรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวิธีการทดสอบWLTP test cycle ทดสอบการทำงานของการกรองน้ำมันเชื้อเพลิงและการยุติบทบาทของเครื่องยนต์ดีเซลที่กำลังจะมาถึงในไม่ช้านี้” von Platenกล่าวเสริมเกี่ยวกับกฎข้อบังคับด้านมลภาวะซึ่งเพิ่งถูกบังคับใช้อย่างเป็นทางการในทวีปยุโรปตั้งแต่วันที่1กันยายน2018 ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อแผนการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ในอนาคต โดยปอร์เช่เริ่มดำเนินการผลิตรถยนต์ที่อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์นี้ด้วยรุ่นสปอร์ต 2 ประตูคือ 911และ 718 เป็นอันดับแรกตามมาด้วยมาคันน์ใหม่ (The new Macan)ซึ่งได้รับการนำมาจัดแสดงในงานมหกรรมยานยนต์Paris Motor Showเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา   ปอร์เช่ไม่ได้บรรจุรถยนต์รุ่นเครื่องยนต์ดีเซลในสายการผลิตนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2018ท้ายที่สุดเมื่อสิ้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา คณะกรรมการบริหารได้ลงมติตัดสินใจที่จะยุติการทำตลาดรถยนต์ที่ติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซล ในขณะเดียวกันกับที่ปอร์เช่ประสบความสำเร็จและได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดีจากกลุ่มลูกค้าผู้ให้ความสนใจในขุมพลังไฮบริดดังที่ปรากฎว่ามากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของปอร์เช่พานาเมร่าใหม่ (The new Porsche Panamera)...
นวัตกรรมมอเตอร์สปอร์ต

‘มิชลิน’ และ ‘มาร์เกซ’ คว้าแชมป์โมโตจีพีครั้งแรกในไทย

มิชลินและทีมปฏิบัติการประจำพื้นที่ของแต่ละทีมแข่งต้องเผชิญกับสภาพสนามแข่งใหม่ที่ไม่คุ้นเคยมาก่อนในการแข่งขัน ‘พีทีที ไทยแลนด์ กรังด์ปรีซ์’ (PTT Thailand Grand Prix) ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของไทย ณ สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต จังหวัดบุรีรัมย์ รวมทั้งต้องผจญกับสภาพอากาศที่ร้อนระอุซึ่งส่งผลต่อสภาพพื้นสนามแข่งอย่างมาก มิชลินได้มีโอกาสเยือนสนามแข่งระยะทาง 4,554 เมตรของไทยแห่งนี้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เพื่อทำการทดสอบรถแข่งก่อนเปิดฤดูกาลแข่งขัน ในเวลานั้นอุณหภูมิสนามแข่งอยู่ที่ 49 องศาเซลเซียส แต่ในวันที่ 7 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันแข่งขันจริง อุณหภูมิกลับพุ่งสูงถึง 56 องศาเซลเซียส โดยไม่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าเนื่องจากตามปกติช่วงเวลานี้ของปีเป็นช่วงฤดูมรสุมของไทยที่อุณหภูมิมักจะลดต่ำลง  มิชลินได้เลือกประเภทยางสำหรับใช้ในสนามแข่งเอาไว้ก่อนฤดูกาลแข่งขันจะเริ่มต้นขึ้นภายใต้แนวความคิดดังกล่าวและตามกฎระเบียบที่กำหนด โดยเชื่อว่าจะเหมาะกับสนามแข่งแห่งนี้ เมื่ออุณหภูมิสนามแข่งสูง ศักยภาพของยางในการยึดเกาะพื้นสนามแข่งจะอยู่ในระดับต่ำมาก ส่งผลให้เกิดอาการล้อหมุนฟรี เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคของมิชลินจึงแนะนำให้บรรดานักบิดเลือกใช้ยาง ‘มิชลิน พาวเวอร์ สลิค’ (MICHELIN Power Slick) แบบเนื้อยางแข็ง (Hard) เป็นยางล้อหลัง ซึ่งนักบิดส่วนใหญ่เลือกใช้ยางรุ่นนี้ตามคำแนะนำ ยกเว้นแต่ ‘อเล็กซ์ เอสปาร์กาโร่’ (AleixEspargaro) นักบิดทีม ‘อพริเลีย เรซซิ่ง ทีม เกรซินี’ (Aprilia Racing Team Gresini) ที่เลือกใช้ยางเนื้อนิ่ม (Soft)  นอกจากนี้ มีนักบิดจำนวนไม่มากนักที่เลือกใช้ยางเนื้อแข็งปานกลาง (Medium) เป็นยางล้อหน้า ขณะที่นักบิดส่วนใหญ่ที่เหลือเลือกใช้ยางเนื้อแข็ง  ทั้งนี้ ในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศวันที่ 7 ตุลาคม ซึ่งมีการแข่งทั้งหมด 26 รอบสนาม มีการเลือกใช้เนื้อยางรวมทั้งสิ้น 4 ประเภทจากทั้งหมด 6 ประเภท ‘มาร์ค มาร์เกซ’ (Marc Marquez) จากทีม ‘เรปโซล ฮอนด้า’ (Repsol Honda Team) ได้ออกตัวจากตำแหน่งหัวแถว หรือ...
นวัตกรรม

ฟอม์ม  ทุ่มพันล้านบาท ตั้งโรงงานผลิตรถพลังไฟฟ้าขนาดเล็กในไทย

บริษัท เอฟโอเอ็มเอ็ม (เอเชีย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นไทยและเป็นผู้ผลิตยานยนต์นั่งส่วนบุคคลไฟฟ้าขนาดเล็ก ประกาศแผนการลงทุนหนึ่งพันล้านบาทสร้างโรงงานผลิตยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กในประเทศไทยเพื่อป้อนตลาดในประเทศและเพื่อการส่งออก นายฮิเดโอะ ซูรุมากิ ประธานเจ้าหน้าบริหาร บริษัท เอฟโอเอ็มเอ็ม (เอเชีย) จำกัด  เปิดเผยว่า “บริษัทฯได้เลือก ประเทศไทย ในการตั้งโรงงาน เพื่อเป็นฐานการผลิตยานยนต์นั่งส่วนบุคคลไฟฟ้าขนาดเล็กสำหรับตลาดในประเทศและเพื่อการส่งออก ทั้งนี้เพราะประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีความพร้อม ในอุตสาหกรรมรถยนต์ มีการสนับสนุนภาคการผลิตรถยนต์มาอย่างยาวนาน ประกอบกับรัฐบาลไทยมีนโยบายชัดเจนในการ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประเทศไทยมีโรงงานผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ภายใต้แผนการลงทุนของบริษัทฯ นายซูรุมากิ กล่าวว่ามูลค่าการลงทุนในโรงงาน ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าครั้งนี้ประมาณหนึ่งพันล้านบาท โดยโรงงานตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี โดยมีกำลังการผลิตประมาณ 10,000 คันต่อปี โดยคาดว่ารถคันแรกที่ออกจากสายพานการผลิต จะสามารถส่งมอบให้แก่ลูกค้าได้ในประมาณต้นปีหน้า “ความจริงแล้ว เราได้ปรับเปลี่ยนแนวคิดการผลิตรถยนต์ไปจากเดิมมาก เพราะในอดีต ธุรกิจการผลิตรถยนต์จะเริ่มต้นที่ประเทศญี่ปุ่น จากนั้นจึงจะขยายไปยังประเทศอื่น แต่เพราะความเชื่อมั่นในนโยบายของรัฐบาล ที่ให้การส่งเสริมการลงทุนการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ในประเทศไทย ผสมกับความเชื่อมั่นในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ในภาคการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ของประเทศไทย ซึ่งมีความแข็งแกร่งมาเป็นเวลายาวนาน เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้เราตัดสินใจที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นการตอกย้ำภาพลักษณ์ของประเทศไทยว่าเป็นดีทรอยท์แห่งเอเชีย” นาย ซูรุมากิ กล่าว บริษัท เอฟโอเอ็มเอ็ม (เอเชีย) จำกัด ได้เริ่มเปิดดำเนินธุรกิจในประเทศไทย เมื่อประมาณ 3 ปีที่ผ่านมา เพื่อทำการสำรวจ และศึกษาแผนการผลิตยานยนต์นั่งไฟฟ้าขนาดเล็กในประเทศไทย และได้เริ่มการดำเนินการตั้งสายการผลิตจริงขึ้นในประมาณต้นปี พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา และได้เปิดให้จองจากผู้ที่สนใจในเทคโนโลยี่ยานยนต์ไฟฟ้า โดยขณะนี้มียอดจองแล้ว 355 คัน บริษัท เอฟโอเอ็มเอ็ม (เอเชีย) จำกัด ก่อตั้งโดยบริษัท ฟอม์ม คอร์ปอเรชั่น แห่งประเทศไทยญี่ปุ่นในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ด้วยทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท โดยขณะนี้ได้ลงทุนไปแล้วประมาณ 1,000 ล้านบาทในโรงงานผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งการลงทุนจะยังคงดำเนินการต่อเนื่องอีก 200 ล้านบาทในส่วนของเครือข่ายการขายและบริการ...
นวัตกรรมมอเตอร์สปอร์ต

มิชลินต้อนรับการแข่ง MotoGP  ในไทย

มิชลินและโมโตจีพี (MotoGP) ร่วมมือกันจัดการแข่งขันรถจักรยานยนต์กรังด์ปรีซ์ระดับโลกขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในขณะที่ทางฝั่งสนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนลเซอร์กิต ซึ่งได้รับเลือกให้เป็นสนามแข่งขันนั้นก็มีการเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดสนามต้อนรับพีทีที ไทยแลนด์ กรังด์ปรีซ์ (PTT Thailand Grand Prix) อย่างเต็มรูปแบบ มิชลินมุ่งหน้าสู่สนามแข่งขันระยะทางยาว 4,554 เมตร พร้อมกับล้อยางที่ได้ทำการคัดสรรมาอย่างดีหลังจากที่มีการทดสอบก่อนจะเปิดฤดูกาลแข่งขันในสนามแห่งนี้เมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยการทดสอบก่อนเปิดการแข่งขันนี้ทำให้มิชลินได้เรียนรู้สภาพของสนามและจากข้อมูลที่ได้รับ ยางรุ่น MICHELIN Power Slick ได้รับเลือกสำหรับใช้ในการแข่งขันครั้งนี้ บุรีรัมย์เป็นสถานที่จัดใหม่และจากข้อมูลที่เปรียบเทียบในการทดสอบ ทำให้มีการตัดสินใจเลือกใช้ยางล้อหลังแบบที่ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ต่อสู้กับความร้อนโดยเฉพาะ สำหรับการไปเยือนสนามนี้เป็นครั้งแรกนั้น มิชลินได้นำยางล้อหลังไปให้เลือก 4 แบบ โดยหวังว่าจะช่วยให้นักขี่และทีมทั้งหมดสามารถดึง “ขุมพลัง” จากรถจักรยานยนต์ของพวกเขาออกมาได้อย่างเต็มศักยภาพมากที่สุด ยางที่นำไปมีทั้งแบบ soft หนึ่งรุ่น แบบ medium สองรุ่น และแบบ hard อีกหนึ่งรุ่น ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นยางแบบไม่สมมาตรโดยมีด้านขวาที่แข็งกว่าเพื่อให้เหมาะกับเลย์เอาท์ของสนามที่มีโค้งขวาถึง 7 โค้ง ในขณะที่มีโค้งซ้ายอยู่เพียง 5 โค้ง สำหรับยางล้อหน้ามิชลินได้เลือกนำยางแบบสมมาตรไป 3 แบบ คือแบบ soft แบบ medium และแบบ hard สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนลเซอร์กิต เปิดให้บริการในปี 2014 และถูกใช้เป็นสถานที่จัดซูเปอร์ไบค์เวิลด์แชมเปี้ยนชิพ (World SBK) มาตั้งแต่ปี 2015 ในส่วนของสิ่งอำนวยความสะดวกนั้นนับว่าทันสมัยมากและมีอัฒจันทร์แกรนด์สแตนด์รอบสนามที่จะช่วยให้แฟนๆ มากกว่า 100,000 คนที่คาดว่าจะเดินทางเข้ามาชมสามารถมองเห็นการแข่งขันได้อย่างชัดเจน สำหรับสภาพอากาศในประเทศไทยในช่วงเดือนตุลาคมนั้นมีความไม่แน่นอนเพราะยังอยู่ในฤดูมรสุม ซึ่งสภาพอากาศที่เปียกชื้นก็อาจส่งผลกระทบกับการแข่งขันอย่างมาก มิชลินเองคำนึงถึงปัจจัยสำคัญอันนี้ด้วย ดังนั้นยางรุ่น MICHELIN Power Rain ก็อาจจะมีโอกาสถูกนำมาออกมาใช้ในครั้งนี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งจะมีทั้งยางหน้าแบบ soft และแบบ medium และยางหลังแบบ medium ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นยางแบบสมมาตร จะมีแค่ยางล้อหลังแบบ soft เท่านั้นที่มีหน้ายางแบบไม่สมมาตรโดยมีด้านขวาที่แข็งกว่าเหมือนกับยางประเภท สลิค (slicks) โมโตจีพีจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในช่วงสุดสัปดาห์ด้วยการแข่งขันแบบการฝึกซ้อมจำนวนสองรอบที่จะจัดขึ้นในวันศุกร์...
นวัตกรรมรถใหม่ต่างประเทศ

มาสด้าประกาศยุทธศาสตร์รถไฟฟ้า

มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประกาศยุทธศาสตร์เกี่ยวกับเทคโนโลยีรถยนต์พลังงานไฟฟ้า และการเชื่อมโยงการสื่อสารภายในยานยนต์ที่กำลังจะถูกสร้างขึ้นบนพื้นฐานปรัชญาการพัฒนาโดยมีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความสุข ความสนุกสนาน และความเร้าใจในการขับขี่ เพื่อให้ผู้ขับขี่รวมทั้งผู้โดยสารเกิดความรู้สึกสงบสุขด้านจิตใจ ผ่านทางอารมณ์และความรู้สึกที่เพิ่มขึ้น เป็นหนึ่งเดียวกับรถยนต์ในทุกๆ วันของการขับขี่ พร้อมนำเสนอเรื่องราวเพื่อเพิ่มความสนุกผ่านการเป็นเจ้าของรถยนต์ ยุทธศาสตร์นี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานและวิสัยทัศน์ระยะยาวของมาสด้าในการพัฒนาเทคโนโลยี “การพัฒนาอย่างยั่งยืนของ ซูม-ซูม 2573” โดยกำหนดเป็นพันธกิจสำคัญของบริษัทฯ เพื่อปกป้องรักษาความสวยงามของโลกใบนี้ให้คงอยู่ รวมทั้งยกระดับสังคมและคุณภาพชีวิตของปัจเจกบุคคล และแสวงหาวิธีแก้ไขปัญหาในพื้นที่แหล่งที่ผู้คนอาศัยอยู่ในสังคม และโลกของเรา แผนงานของเทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้าและการเชื่อมโยงด้านยานยนต์ด้านล่างนี้จะเพิ่มคุณสมบัติตามธรรมชาติของรถยนต์มากขึ้น                 เทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้า Electrification มาสด้าตั้งปณิธานอย่างแน่วแน่เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และเพิ่มความสนุกในการขับขี่ โดยจัดการเรื่องขนาดของรถยนต์ เทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้าให้มีน้ำหนักเบา ในขณะเดียวกันได้เร่งพัฒนาปรับปรุงเครื่องยนต์สันดาปภายในให้สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น เพื่อเตรียมสำหรับรถยนต์ส่วนใหญ่ที่เป็นโมเดลใหม่ในอนาคตข้างหน้า บริษัทฯ จะทำการแนะนำรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเพื่อเป็นทางเลือกที่เหมาะสม โดยมีอัตราการผลิตพลังงานไฟฟ้าในสัดส่วนที่สูงจากแหล่งพลังงานที่สะอาด หรือจำกัดประเภทของรถยนต์เพื่อลดการปล่อยมลพิษสู่บรรยากาศ ด้วยความมุ่งมั่นที่จะไปให้ถึงเป้าหมายในการลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ “well-to-wheel” ในระดับค่าเฉลี่ยขององค์กร ให้ได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี พ.ศ. 2593 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2553 มาสด้ากำลังจะนำเอาเทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้าในรูปแบบต่างๆ มาใช้เพื่อผลิตรถยนต์ทุกรุ่นภายในปี พ.ศ. 2573 ในปี พ.ศ. 2573 มาสด้าคาดว่ารถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน ที่ทำงานร่วมกับเทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้าในรูปแบบต่างๆ จะเพิ่มขึ้นเป็น 95 เปอร์เซ็นต์ ของยานพาหนะที่ถูกผลิตขึ้นและยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) จะมีประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ การพัฒนายานยนต์พลังงานไฟฟ้าภายในบริษัทฯ ด้วยการยกระดับข้อดีต่างๆ ของระบบการขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า และได้รับการแนะนำด้วยปรัชญาที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของมาสด้า ด้วยการพัฒนาอันมีมนุษย์เป็นศูนย์กลางโดยเน้นในเรื่องของพฤติกรรมและความรู้สึก มาสด้าจะพัฒนารถยนต์พลังงานไฟฟ้าด้วยแบตเตอรี่ 2 รูปแบบ โดยแบบแรกจะเป็นการใช้พลังงานจากแบตเตอรี่เพียงอย่างเดียว และแบบที่สองจะเป็นในรูปแบบของแบตเตอรี่ทำงานควบคู่ไปกับเทคโนโลยีช่วยเพิ่มระยะทางในการขับขี่ (Range Extender) ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใหม่ โดยแหล่งกำเนิดพลังงานมาจากเครื่องยนต์โรตารีของมาสด้าที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และเงียบเป็นพิเศษ ระบบช่วยเพิ่มระยะทาง (Range Extender) ด้วยการเติมประจุไฟเข้าแบตเตอรี่อีกครั้งเมื่อมีความจำเป็นเพื่อที่จะเพิ่มระยะทางในการขับขี่ของรถยนต์อย่างมีประสิทธิภาพ แนวคิดเบื้องหลังของรถยนต์ไฟฟ้าที่มีเทคโนโลยีช่วยเพิ่มระยะทางในการขับขี่ (Range Extender) นำเอาคุณสมบัติข้อดีของเครื่องยนต์โรตารีที่มีขนาดเล็กแต่ให้พละกำลังแรง เพื่อนำเสนอทางเลือกที่หลากหลายและเป็นไปได้สำหรับเทคโนโลยีรถยนต์พลังงานไฟฟ้า...
รถใหม่ต่างประเทศ

ปอร์เช่จับมือ Turo เปิดโครงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ขับรถสปอร์ต

ปอร์เช่ บริษัทผู้ผลิตรถสปอร์ตระดับแนวหน้าของโลกสัญชาติเยอรมัน อันมีฐานการผลิตอยู่ในZuffenhausenได้เปิดตัวโครงการนำร่องใหม่ล่าสุดที่เปิดโอกาสให้“Host” หรือเจ้าของรถยนต์ปอร์เช่ซึ่งมีถิ่นพำนักในประเทศสหรัฐอเมริกา สามารถเข้าร่วมบริการระยะสั้นสำหรับการนำเสนอการแบ่งปันประสบการณ์ในการขับขี่รถยนต์ปอร์เช่โดยตรงผ่านการติดต่อสื่อสารอย่างอิสระด้วยขั้นตอนการเริ่มต้นโครงการในแบบเดียวกับ“Porsche Passport” โดยจำกัดสิทธิ์ในการสมัครเข้าร่วมเฉพาะรุ่นรถยนต์ที่วางจำหน่ายตั้งแต่ปีที่แล้ว ทั้งนี้กิจกรรมดังกล่าวคืออีกหนึ่งความก้าว หน้าในกระบวนการพัฒนายานพาหนะแนวคิดใหม่ในอนาคต โครงการ Porsche Host มีลักษณะการดำเนินงานในแบบ peer-to-peer car sharing programmeหรือการแบ่งปันประสบการณ์การขับขี่รถยนต์ผ่านธุรกรรมโดยตรงระหว่างบุคคลโปรแกรมดังกล่าวได้รับการพัฒนาขึ้นโดย Porsche Digital, Inc. ประสานงานกับTuro พันธมิตรทางธุรกิจของปอร์เช่โครงการนี้จะมีส่วนช่วยให้กลุ่มลูกค้ารถยนต์ปอร์เช่ใน ลอสแองเจลิสและซานฟรานซิสโก ดำเนินกิจกรรมผ่านแอปพลิเคชันและเว็บไซต์ของTuroได้ตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2018 เป็นต้นไป โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ในการเปิดโอกาสให้ผู้ขับขี่รถยนต์ที่หลงใหลในยนตรกรรมสปอร์ตปอร์เช่สามารถเข้าถึงและสัมผัสประสบการณ์ในการขับขี่ที่ไม่เหมือนใคร ผ่านการติดต่อสื่อสารโดยตรงจากบุคคลผู้เป็นเจ้าของรถยนต์ปอร์เช่ ทั้งนี้ระยะเวลาในการเช่ายืมนั้น เริ่มต้นตั้งแต่ 1 วันจนถึง 1 เดือน Turoตั้งขึ้นในปี 2009 และมีสำนักงานตั้งอยู่ที่ซานฟรานซิสโก เป็นองค์กรที่ประกอบธุรกิจตัวกลางสำหรับให้บริการเช่ายืมยานพาหนะ โดยผู้เช่ายืมสามารถติดต่อกับเจ้าของยานพาหนะได้อย่างอิสระอย่างไรก็ตาม รถยนต์ปอร์เช่ที่จะได้รับการอนุมัติให้เข้าร่วมโครงการ“Porsche Host” นั้น เจ้าของรถยนต์ปอร์เช่คันดังกล่าวคือผู้ที่ผ่านการอบรมในหลักสูตรพิเศษเฉพาะเพื่อให้ทราบถึงวิธีการและมีทักษะความชำนาญในการนำเสนอประสบการณ์การขับขี่ยนตรกรรมสปอร์ตระดับพรีเมี่ยมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสิ่งเหล่านั้นคือความปรารถนาที่ผู้หลงใหลในรถยนต์ปอร์เช่ทุกคนต้องการจะได้สัมผัสสักครั้งในชีวิตการขับขี่รถสปอร์ต “การได้ร่วมงานกับพันธมิตรทางธุรกิจที่เปี่ยมศักยภาพทั้งในด้านของเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆอย่างTuroนั้น ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญสำหรับการสร้างความเชื่อมั่นว่าเราจะสามารถสร้างสรรค์ผลงานที่เกิดจากจินตนาการให้กลายเป็นความจริงและสามารถสัมผัสได้ รวมทั้งถ่ายทอดสิ่งเหล่านั้นไปยังกลุ่มลูกค้าของเราเพื่อส่งมอบประสบการณ์การขับขี่รถยนต์ปอร์เช่อันสมบูรณ์แบบที่สุด”ข้างต้นคือคำกล่าวจากThiloKoslowskiประธานกรรมการบริหารของ Porsche Digital, Inc.  นอกจากนี้เขายังกล่าวเสริมอีกว่า: “ด้วยการประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างปอร์เช่และบริษัทพันธมิตรที่ยอดเยี่ยม เราจึงมีความพร้อมอย่างเต็มที่สำหรับการค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนายานพาหนะและนำเสนอแนวทางการดำเนินธุรกิจรูปแบบใหม่” “การร่วมมือกับปอร์เช่นับเป็นโอกาสอันดีในการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายจำนวนมากที่มีความสำคัญต่อการดำเนินงานของเรา” Andre Haddad ประธานกรรมการบริหารของTuro กล่าวเสริมอีกว่า “ผมเองเป็นแฟนพันธุ์แท้ของปอร์เช่มาโดยตลอด และผมจะรู้สึกดีทุกครั้งที่ได้ส่งต่อกุญแจรถปอร์เช่ 911 ของผม ให้แก่บุคคลอื่นผู้มีความชื่นชอบในรถยนต์ปอร์เช่ได้ลองขับแม้เพียงเวลาสั้นๆก็ตาม”...
นวัตกรรม

มิชลิน ไพรมาซี่ 3 แซดพี รุกตลาดยางรันแฟลต

  ยางมิชลินส่ง ‘มิชลิน ไพรมาซี่ 3 แซดพี’ (MICHELIN Primacy 3 ZP) ลงรุกตลาด “ยางรันแฟลต” (Run-Flat Tyre) …ยางที่วิ่งต่อได้แม้ไม่มีลมยางในกรณีที่ยางรั่วซึมหรือถูกตำทะลุขณะใช้งาน (ระยะทางไม่เกิน 80 กิโลเมตร ที่ความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ทำให้สามารถควบคุมรถและขับต่อไปยังสถานที่ปลอดภัยได้โดยไม่ต้องกังวลหรือเสี่ยงอันตรายจากการจอดเปลี่ยนยางอะไหล่ข้างทาง พร้อมปรับลดราคาให้ผู้ขับขี่สามารถสัมผัสอีกระดับของความปลอดภัยจากยางรันแฟลตได้ในราคาคุ้มค่ายิ่งขึ้น ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ยางในตระกูล ZP (Zero Pressure) ใช้ได้กับรถยนต์ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับยางรันแฟลตเท่านั้น เช่น BMW หรือ Mercedes-BENZ เกือบทุกรุ่น จุดเด่นพิเศษของยาง ‘มิชลิน ไพรมาซี่ 3 แซดพี’ คือ ปลอดภัยเป็นเยี่ยมบนทุกสภาพถนนด้วยเนื้อยางสูตรใหม่ที่ช่วยให้มีระยะเบรกสั้นลงกว่ายางตระกูล ZP รุ่นก่อนหน้าทั้งบนถนนเปียกและแห้ง อีกทั้งลวดลายดอกยางแบบใหม่และแถบเนื้อยางเสริมระหว่างบล็อกดอกยางและดอกยางแบบตัดมุมยังช่วยเพิ่มพื้นที่หน้าสัมผัสและสมรรถนะการยึดเกาะ จึงเบรกและเข้าโค้งได้อย่างมั่นใจ, นุ่มสบายในยามขับขี่มากกว่ายางรันแฟลตทั่วไปด้วยเนื้อยางสูตรใหม่บริเวณแก้มยางและท้องยางให้ความยืดหยุ่นช่วยดูดซับแรงกระแทกและเพิ่มประสิทธิภาพในการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง ทั้งยังใช้ลวดเสริมขอบยางขนาดเล็กลงแต่แข็งแรงเท่าเดิมช่วยให้ยางมีน้ำหนักและความกระด้างลดลง  นอกจากนี้ยังให้ความเงียบขณะขับขี่ไม่ต่างจากยางปกติรุ่นเดียวกันของมิชลินอีกด้วย ผู้สนใจสามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ยาง ‘มิชลิน ไพรมาซี่ 3 แซดพี’ ซึ่งมีวางจำหน่ายรวมทั้งสิ้น 16 ขนาด (ขอบ 16-19 นิ้ว) ได้ที่เครือข่ายศูนย์บริการรถยนต์ครบวงจร ‘ไทร์พลัส’ และร้านตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของมิชลินทั่วประเทศ ราคาจำหน่ายเริ่มต้นที่ 5,990 บาทต่อเส้น © Photo François Berrué tel : 0609245160  ...
นวัตกรรม

กู๊ดเยียร์ฉลอง 120 ปี แห่งนวัตกรรมการขับเคลื่อนยุคใหม่

บริษัท กู๊ดเยียร์ ไทร์ แอนด์ รับเบอร์ จำกัด ผู้นำในวงการที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งอุตสาหกรรมของสหรัฐอเมริกา มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนโลกใบนี้ให้ก้าวไกลมานับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทในพ.ศ. 2441 ในฐานะผู้นำในอุตสาหกรรมยาง กู๊ดเยียร์มีความภาคภูมิใจที่ได้ฉลองความสำเร็จครั้งประวัติศาสตร์เนื่องในโอกาสครบรอบ 120 ปีของการก่อตั้งบริษัทและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ได้สร้างสรรค์มา พร้อมมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมที่ก้าวไกลกว่าเรื่องยาง เพื่อผลักดันให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหม่ด้านเทคโนโลยีการขับเคลื่อน “มีเพียงไม่กี่องค์กรที่สามารถสร้างความสำเร็จให้เกิดขึ้นได้ในจังหวะที่สอดคล้องกับวาระสำคัญของมนุษยชาติ ดังเช่นบริษัท กู๊ดเยียร์ ไทร์ แอนด์ รับเบอร์ จำกัด โดยหลังจากที่ก่อตั้งบริษัทในช่วงต้นของยุคยานยนต์ กู๊ดเยียร์ได้ประสบความสำเร็จถึงขีดสุด ทะยานสู่ฟากฟ้าและเดินทางไปสำรวจดวงจันทร์ได้สำเร็จ ซึ่งบริษัทก็ได้ยืนระดับแนวหน้าของอุตสาหกรรมในด้านนวัตกรรมเสมอมา พร้อมกับมุ่งมั่นนำเสนอ “Freedom To Move” มาสู่ผู้บริโภคและลูกค้า ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการต่างๆ ที่เหนือชั้น” มรนายไรอัน แพทเตอร์สัน ประธานบริษัท กู๊ดเยียร์ เอเชีย แปซิฟิก กล่าว “จากความสำเร็จตลอด 120 ปีที่ผ่านมา บริษัทได้สืบสานเจตนารมณ์จากรุ่นสู่รุ่น ในการขับเคลื่อนให้เราพัฒนาไปข้างหน้าสู่การคิดค้นริเริ่มสิ่งใหม่เพื่ออีกหลายทศวรรษข้างหน้า” นายแพทเตอร์สัน กล่าวต่อ “เราเฉลิมฉลองให้กับมรดกแห่งนวัตกรรมให้ห้วงเวลาที่อุตสาหกรรมนี้เติบโตก้าวหน้าเร็วกว่าในอดีต นับตั้งแต่มีการประดิษฐ์ยานยนต์ขึ้นมา” จากสนามแข่ง จนมาถึงหุ่นสำรวจ Modular Equipment Transporter (MET) ของยานอะพอลโล กับภารกิจสำรวจดวงจันทร์อันโด่งดัง ผลิตภัณฑ์ของกู๊ดเยียร์ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ที่ตื่นตาตื่นใจของมนุษยชาติมาแล้วหลายเหตุการณ์ และนี่คือตัวอย่างนวัตกรรมสำคัญของกู๊ดเยียร์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และก้าวหน้าต่อไปในอนาคต อดีต – กู๊ดเยียร์ผุดนวัตกรรมรายแรก ในพ.ศ. 2382  นายชาร์ลส์ กู๊ดเยียร์ได้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ชิ้นสำคัญที่เข้ามาพลิกโฉมการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนไปตลอดกาล นั่นก็คือกระบวนการคงรูปของยาง (Vulcanization of rubber) บริษัทที่ก่อตั้งตามชื่อของเขาจึงนับว่าเป็นแห่งแรกที่คิดค้นสิ่งใหม่หลายอย่าง ทั้งยางสำหรับรถยนต์เพื่อผู้ขับขี่ทั่วไปของฟอร์ด โมเดล ที (Ford Model T พ.ศ. 2451) ยางอัดลมรุ่นแรกสำหรับอากาศยาน (พ.ศ. 2452) และยางรุ่นแรกเพื่อการสำรวจดวงจันทร์โดยนักบินอวกาศนาซ่า (พ.ศ. 2514) หลังจากที่ได้เปิดตัวยางสำหรับอากาศยานรุ่นแรก...
1 20 21 22 23 24 25
Page 22 of 25